สมัชชาผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยใต้เสนอ 3 ระยะ 4 ข้อแก้ราคาตกต่ำ

สมัชชาผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยใต้เสนอ 3 ระยะ 4 ข้อแก้ราคาตกต่ำ





ad1

สมัชชาผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยในพื้นที่เขตภาคใต้ เสนอภาครัฐ 3 ระยะ ประกาศก้อง เรียกร้อง 4 ข้อ  รัฐบาลต้องลงมาดูแล “เศรษฐา” คือพ่อ หากพ่อไม่ลงมาดูแลจะมีการเปลี่ยนพ่อ ระบุ การเลี้ยงสุกรเลวร้ายที่สุดในรอบ 30 ปี ชี้ จะต้องขาดทุนยืดเยื้อไปอีกครึ่งปี รายใดไม่มีทุนจะไม่สามารถไปต่อได้

เวลา 13.30 น. วันที่ 11 ตค. 66 กลุ่มสมัชชาผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยในพื้นที่เขตภาคใต้ ประชุมสัมนารวมพลังคนเลี้ยงหมูรายย่อยสู่ความยั่งยืน ที่โรงแรมร้อยทองรีสอร์ท อ.ควนขนุน จ.พัทลุง มีนายเฉลิมพล มานันตพงศ์ ประธานสมัชชา นายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร นายก อบจ.พัทลุง รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ   นายชธิต ภักดีบุรี เลขาธิการสมัชชา นายสำรอง รักชุม บริษัท โชคสุขภัณฑ์ จำกัด นายสมมิตร ถาวรวงศ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สำนักงานปสุสัตว์จังหวัดพัทลุง และพาณิชย์จังหวัดพัทลุง ฯลฯ  พร้อมเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรายย่อยเข้าร่วมกว่า 500 คน  จาก จ.พัทลุง นครศรีธรรมราช จ.สงขลา ฯลฯ  

นายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร นายก อบจ.พัทลุง และรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ  กล่าวว่า จ.พัทลุง ในฐานะศูนย์กลางปศุสัตว์ของภาคใต้ ขณะนี้ต่างได้รับผลกระทบที่หนักมาก และตนในฐานะอดีตผู้เลี้ยงสุกรจำนวน 476 แม่พันธุ์ เพิ่งยุติไปเมื่อคราวเกิดโรคระบาดสุกร ASF   ตอนนี้ปัญหาของผู้เลี้ยงสุกรรัฐบาลทราบปัญหาดี  ซึ่งที่ผ่านมาราคาสุกรได้ปรับตัวขึ้นกว่า 100 บท / กก.  แต่ราอาคาอาหาร วัตถุดิ ก็ได้ขึ้นตามมา  แต่มาตอนนี้ราคาสุกรได้ลดลงเหลือกว่า 50 บาท / กก. แต่ราคาอาหาร วัตถุดิบ ก็ไม่ได้ลดตามอย่างเหมาะสม  ซึ่งรัฐบาลจะต้องหาทางออกเข้ามาแก้ไขและให้การสนับสนุนช่วยเหลือ

“เรื่องสุกรได้เรียนต่อนายอนุชา นาคาศัย รมช. เกษตรและสหกรณ์ได้รับทราบแล้ว โดยให้หาข้อมูลและจะเสนอเข้า ครม.เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป” 

นายวิสุทธิ์ กล่าวอีกว่า  ตนในฐานะ นายก อบจ. และเครือข่ายจะดำเนินการดูแลเกษตรกรเช่นเดียวกัน แต่ทางรัฐบาล จะต้องสั่งการให้ลงมาดูแลแก้ไข โดยให้ทุกฝ่ายพร้อมทำงานดำเนินการอย่างเป็นบูรณาการ

ทางด้าน นายเฉลิมพล มานันตพงศ์ ประธานสมัชชา กล่าวว่า การแก้ปัญหาสุกรจะต้องพึ่งพ่อ คือพ่อ 1 และ ฯลฯ พ่อ 1 นาย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตลอดถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และ 3. ปลัดกระทรวง  แตหากเมื่อไม่สามารถช่วยเหลือได้  ในฐานะที่ได้รับผลกระทบที่หนักมากแล้วในขณะนี้ต่อไปก็ต้องจะมีการเปลี่ยนพ่อ

สำหรับหนังสือที่เรียกร้องจากตัวแทนเกษตรกรที่ทางสมัชชาฯ ได้รวมตัวกันเพื่อเสนอแนวคิดและข้อเรียกร้องต่อภาครัฐในการแก้ไขปัญหาสุกรในพื้นที่เขตภาคใต้ เป็น 3 ระยะ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวระยะสั้น อยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยผลักดันราคาขายสุกรในพื้นที่ให้เป็นไปตามโครงสร้างการผลิต สุกรและการสมดุลกับการซื้อขายในตลาด เพื่อลดปัญหาการขาดทุนสะสมของกลุ่มผู้เลี้ยงเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันต้นทุนการผลิตขายสุกรขุน ณ.ปัจจุบันอยู่ที่ 75 - 80 บาทต่อกิโลกรัม แต่ขายได้เพียงราคา 50 - 55 บาท ต่อกิโลกรัม

ระยะกลาง อยากให้ภาครัฐช่วยเพิ่มช่องทางการส่งออกสุกร ไปยังประเทศเพื่อนบ้านในช่องทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อลดการสะสมของสต็อกที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  เนื่องจากในเขตภาคใต้จะเข้าสู่ช่วงฤดูกาลฝนในช่วงปลายปี ซึ่งจะส่งผลให้กําลังซื้อขายสุกรลดลงเป็นอย่างมาก จะเป็นผลให้ปริมาณสุกรมีชีวิตในพื้นที่จะเกิดการสะสมสต็อกขึ้นเป็นจํานวนมาก

และในระยะยาว อยากให้ภาครัฐเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ ได้จัดทำระบบฐานข้อมูลการผลิตสุกรในพื้นที่เขตภาคใต้ เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการเกิดความสมดุลระหว่างผู้เลี้ยงรายย่อยและผู้เลี้ยงรายใหญ่

นายชธิต ภักดีบุรี เลขาธิการสมัชชาฯ กล่าวว่า  รัฐบาลจะต้องแก้ไขโดยการผลักดันสุกรส่งออกต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย เวียดนาม  และต้องมีการปรับปรุงราคาให้สอดคล้องกัน และลดปริมาณพื้นที่การเลี้ยงลงเพื่อให้สมดุลกับปริมาณดีมานด์ซัพพลาย

นายสำรอง รักชุม ผู้บริหาร บริษัท โชคสุขภัณฑ์ จำกัด เปิดเผยว่า วงการเลี้ยงสุกรเกิดภาวะวิกฤติตกต่ำที่สุดในรอบ 30 ปี  ซึ่งเมื่อเกิดโรคระบาด เอเอสเอฟ เมื่อปี 2564 - 2565 และหลังสิ้สุดกลับมาเลี้ยงอีกประมาณ 1 ปี หวังว่าจะกลับมาฟื้น แต่กลับกันสุกรเกิดภาวะดีมานด์ซัพพลายโอเวอร์

ทั้งนี้จากหลายปัจจัย สาเหตุมีหมูเถื่อนเข้ามาปริมาณมาก ตลอดจนผู้เลี้ยงรายขนาดใหญ่ ได้มีการลงทุนมากการเลี้ยงเพิ่มขึ้นมาก  และในขณะเดียวกันต้นการผลิตกลับสูงขึ้นมาก

“ตอนนี้เลี้ยงขนาด 50 แม่พันธุ์ จะขาดทุน 1 ล้านบาท  โดยการซื้อขายราคาวันนนี้  50 - 57 บาท / กก. ขาดทุน 1,700 บาท - 2,000 บาท  / ตัว  และคาดการณ์ว่าจะต้องขาดทุนยืดเยื้อไปอีกประมาณครึ่งปี  และประเภทไม่มีทุน ไม่สามารถที่จะไปต่อได้”

นายสำรอง กล่าวอีกว่า  เวลาสุกรปรับราคาขึ้น รัฐบาลได้ออกมาวางมาตรการควบคุมเรื่องราคา  แต่พอราคาได้ทอยปรับตัวลง  รัฐบาลกลับไม่ได้มาดูแล  จึงขอฝากไปยังรัฐบาลว่ามีทางออก คือทางผู้เลี้ยงสุกรขอได้งบประมาณไปถึงรัฐบาลแล้วจำนวน  180 ล้านบาท เพื่อเอาเงินมาซื้อลูกสุกรเอามาทำเป็นหมูหัน จำนวน 450,000 ตัว เพื่อลดประชากรสุกรเพื่อสร้างความสมดุล  แต่ขณะนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณา.

โดย...อัสวิน ภักฆวรรณ