เปิดไทม์ไลน์เจ้าหน้าที่รัฐกับเด็กนักเรียนตาดีกาถือภาพคนร้ายถูกวิสามัญเข้าร่วมพาเหรดแฟนตาซีของโรงเรียนตาดีกา

เปิดไทม์ไลน์เจ้าหน้าที่รัฐกับเด็กนักเรียนตาดีกาถือภาพคนร้ายถูกวิสามัญเข้าร่วมพาเหรดแฟนตาซีของโรงเรียนตาดีกา





ad1

เปิดไทม์ไลน์การดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐกับเด็กนักเรียนตาดีกาและผู้ที่เกี่ยวข้องกรณีถือภาพคนร้ายที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐวิสามัญเสียชีวิตเข้าร่วมในขบวนเดินพาหรดแฟนตาซีของโรงเรียนตาดีกา

เมื่อวันที่ 28 ก.ค.66เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายพิเศษ (JASAD)ได้เปิดเผยว่า จนท.เชิญตัว ครูสอนตาดีกา โต็ะอิหม่าม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เด็กๆในพื้นที่ ม.3 บ้านท่าสู ต.น้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี กรณีถือรูปภาพผุ้เสียชีวิตจากการวิสามัญฯ ในขบวนพาเหรดาดีกาสัมพันธ์ตำบลบ้านน้ำบ่อเมื่อวันที่ 22 - 23 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา

จากเหตุการณ์เมื่อวันที่  22 - 23 กรกฎาคม 2566 ทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาแระ จังหวัดปัตตานี ได้จัดงานตาดีกาสัมพันธ์ในพื้นที่ ต.น้ำย่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี และได้มีเด็กๆถือรูปภาพผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์วิสามัญฯ ในการเดินขบวนพาเหรดที่เป็นข่าวในโลกออนไลน์นั้น

หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เจ้าหน้าที่ได้เชิญตัว 

1.นาย อิบรอเฮ็ม มะสาเเม็ง อายุ 49 ปี อิหม่ามบ้านท่าสู ม.3 ต.น้ำบ่อ

2.นาย กอเซ็ม เปาะลิม อายุ 48 ปี ผู้ช่วยไปใหญ่บ้าน ม.3 ต.น้ำบ่อ

โดยเจ้าหน้าที่ได้เชิญตัวทั้งสองคนไปที่ สภ.ปะนาเระ

วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 เจ้าหน้าที่ได้เชิญตัว

1.นางสาว ฟารีดะ มะเยหะ อายุประมาณ 42 ปี ครูสอนตาดีกา ม.3 ต.น้ำบ่อ โดยเจ้าหน้าที่ได้เชิญตัวไปที่ สภ.ปะนาเระ

วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เจ้าหน้าที่ได้เชิญตัว

1.นาย อัฟฎอล เปาะลิง อายุ 19 ปี ครูสอนตาดีกา ม.3 ต.น้ำบ่อ

2.นาย มูฮัมหมัดไซดี มามะ อายุ 21 ครูสอนตาดีกา ม.3 ต.น้ำบ่อ โดยเจ้าหน้าที่ได้เชิญตัวทั้งสองคนไปที่ สภ.ปะนาเระ

เวลาต่อมาเมื่อช่วงบ่ายของวานนี้ทางเครือข่ายฯได้รับการประสานมาว่า เจ้าหน้าที่ได้มีการเชิญตัวเด็กๆจำนวน 5 คน ผู้ปกครองจำนวน 3 คน ไปที่ อ.ปะนาเระ โดยเจ้าหน้าที่แจ้งว่าเชิญตัวเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ทางเครือข่ายฯขอเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายระหว่างหน่วยงานความมั่นคงและกลุ่มผู้เห็นต่าง เคารพในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก Convention on the Rights of the Child (CRC) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กบอกถึงนิยาม (เด็กหมายถึงบุคคลทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี) และมาตรฐานสิทธิมนุษยชนของเด็ก เพื่อช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความคุ้มครองดูแลเด็กได้อย่างเหมาะสม ซึ่งประเทศไทย ได้ลงนามเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2535 และมีผลใช้บังคับกับไทย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2535

เนื่องด้วยขณะนี้ได้มีการบังคับใช้ พรบ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายทั้งฉบับโดยเฉพาะการบันทึกภาพและเสียงต่อเนื่องจนกว่าจะส่งตัวให้พนักงานสอบสวน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการหายตัวและปฏิบัติใดใดที่เป็นการละเมิดกฎหมายใหม่ฉบับนี้ จึงขอให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โปร่งใสตรวจสอบได้ สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน #ขอความสันติจงมีแด่ทุกท่าน