เปิดที่มา"พิธา" ชูกำปั้นเหนือศีรษะ "Raised Fist"นัยต่อต้านเผด็จการและการกดขี่

เปิดที่มา"พิธา" ชูกำปั้นเหนือศีรษะ "Raised Fist"นัยต่อต้านเผด็จการและการกดขี่





ad1

ภายหลัง "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" หัวหน้าพรรคก้าวไกล ผู้ชนะในการเลือกตั้งประจำปี 2566 ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. กรณีถือหุ้นในบริษัท ไอทีวี จํากัด (มหาชน) พร้อมถูกสว. งัดปิดทางโหวตพิธาเป็นนายกฯ อีกรอบขัดกับข้อบังคับการประชุมข้อ 41 ซึ่งก่อนหน้าที่จะเดินออกจากห้องประชุม ได้กล่าวอำลา

พร้อมทิ้งท้ายว่า “ผมคิดว่าประเทศไทยเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม และถ้าประชาชนชนะมาได้แล้วครึ่งทาง เหลืออีกครึ่งทางถึงแม้ผมไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ แต่ขอให้เพื่อนสมาชิกทุกคนดูแลประชาชนต่อไป” จากนั้นชูกำปั้น ยกขึ้นเหนือศรีษะ " Raised Fist"นัยต่อต้านเผด็จการและการกดขี่ รวมถึงมายถึงความรวมใจกันเป็นหนึ่ง 

การชูกำปั้น ยกขึ้นเหนือศรีษะ เรียกว่า Raised Fist ไม่ใช่เพียงการทำเท่ ท่าเก๋ หรือท่าถ่ายรูปเท่านั้น แต่เป็นสัญญะทางการเมืองในการต่อต้านเผด็จการสากล โดยการชูกำปั้น “Raised fist” เป็นการแสดงออกอย่างสันติวิธี เป็นภาพสะท้อนความหมายที่หลากหลายที่มีมาช้านาน มักจะเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง

ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ทั่วไปของการต่อต้านระบอบกดขี่, ลัทธิฟาสซิสต์, ลัทธิสังคมนิยม, ลัทธิคอมมิวนิสต์, และขบวนการทางสังคมที่ปฏิวัติอื่น ๆ รวมถึงสามารถใช้แทนคำทักทายเพื่อแสดงความสามัคคี ความแข็งแกร่ง หรือการต่อต้าน

ต้นกำเนิดของการชูกำปั้นเป็นสัญลักษณ์หรือท่าทางนั้นไม่ชัดเจน แต่ภาพแรกเริ่มของการยกกำปั้นขึ้นเป็นภาพโดย "ออนอเร ดูมิเยร์" และน่าจะได้รับแรงบันดาลใจจากการปฏิวัติในปี 1848 ที่เห็นการล้มล้างระบอบกษัตริย์ของ King Louis-Philippe Daumier ซึ่งอยู่ในปารีสในช่วงเวลาที่เรียกว่า “วันนองเลือดในเดือนมิถุนายน” รู้สึกประทับใจกับความปรารถนาอันแรงกล้าของผู้คนและใช้กำปั้นที่ชูขึ้นเป็นสัญลักษณ์ของ “ความแข็งแกร่ง ความมุ่งมั่น และความตั้งใจที่จะต่อสู้”

แต่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ในปี  2511 นักกรีฑาอเมริกัน ชื่อ "ทอมมี่ ซี. สมิธ และ จอห์น เวสลีย์ คาร์ลอส" ได้กล่าวคำสดุดีอันโด่งดังจากโพเดียมโอลิมปิกที่กรุงเม็กซิโก ซิตี้ ประเทศเม็กซิโก ซึ่งชูกำปั้นสุดแขนตอนขึ้นรับเหรียญ ขณะกำลังเปิดเพลงชาติ ประท้วงการแบ่งแยกทางเชื้อชาติและเป็นสัญลักษณ์ต่อต้านการเหยียดผิว ที่เรียกว่า Black Power salute

รวมถึงในปีเดียวกัน ขบวนการสตรีนิยมได้ใช้กำปั้นในการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ "โรบิน มอร์แกน" หัวหน้าผู้จัดงานและผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวรวมตัวกัน เพื่อประณามการที่ผู้หญิงมองผู้หญิงเป็นนางแบบบิกินีในการแข่งขันมิสอเมริกา

มีการชูกำปั้นขึ้นเพื่อประท้วงเรื่อง Black Lives Matter หลังมีการเสียชีวิตอย่างน่าสยดสยองของจอร์จ ฟลอยด์, เอริก การ์เนอร์, ฟิลันโด คาสตีล รวมถึงชายและหญิงผิวสีอีกนับไม่ถ้วนด้วยน้ำมือของตำรวจผิวขาว นักเคลื่อนไหวชาวซานดิเอโกกล่าว “กำปั้นเชิงสัญลักษณ์นั้นทำให้ฉันเห็นความอยุติธรรมในประเทศของเราจริงๆ”