"นายอำเภอตั้ม" ประธานพิธีแจกต้นกล้ากแฟอาราบิก้าเชียงใหม่ 80. ในโครงการอนุรักษ์ป่า ติน และน้ำ

"นายอำเภอตั้ม" ประธานพิธีแจกต้นกล้ากแฟอาราบิก้าเชียงใหม่ 80. ในโครงการอนุรักษ์ป่า ติน และน้ำ





ad1

แม่ฮ่องสอน-"นายอำเภอตั้ม" ประธานพิธีแจกต้นกล้ากแฟอาราบิก้าเชียงใหม่ 80. ในโครงการอนุรักษ์ป่า ติน และน้ำ ในพื้นที่ตันน้ำกาคเหนือ ณ.ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอสบเมย อ.สบเมย

เมื่อวันที่ 14  กรกฎาคม 2566 นายอัครพันธุ์ พูลศิริ "นายอำเภอตั้ม" นายอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เดินทางมาเป็นประธานพิธีแจกต้นกล้ากแฟอาราบิก้าเชียงใหม่ 80. ในโครงการอนุรักษ์ป่า ติน และน้ำ ในพื้นที่ตันน้ำกาคเหนือ โดยใช้ระบบวนเกษตร ในการส่งเสริมการผลิตสร้างมาตรฐานผลผลิตและการตลาดของพืชกาแฟ ณ.ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอสบเมย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน โดยมีผู้แทนจากกรมชลประทาน คณะที่ปรึกษาโครงการ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่นผู้นำชุมชน ผู้แทนภาคประชาชน ภาคเอกชน เข้าร่วมโครงการจำนวนมาก

นายอัครพันธุ์ พูลศิริ "นายอำเภอตั้ม" นายอำเภอสบเมย กล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้เป็นประธาน ในพิธีเปิดกิจกรรมแจกต้นกล้ากาแฟ ราบิก้าเชียงใหม่ 80 โครงการอนุรักษ์ป่า ดิน และน้ำ ในพื้นที่ต้นน้ำภาคเหนือ ในการส่งเสริมการผลิตสร้างมาตรฐานผลผลิตและการตลาดของพืชกาแฟ ซึ่งป่าไม้ในพื้นที่ภาคเหนือเป็นแหล่งตันน้ำที่สำคัญของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ใน พ.ศ.2564 .ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ รวมทั้งสิ้น 102.21 ล้านไร่ หรือร้อยละ 31.59 ของพื้นที่ประเทศ โดยภาคเหนือมีที่ป่าไม้มากที่สุด 38.23  ล้านไร่ หรือร้อยละ 37.4- ของพื้นที่ป่ไม้ของประเทศไทย

ซึ่งพื้นที่บางส่วนมีประชาชนอาศัยอยู่ทั้งก่อนและหลังประกาศพื้นที่ป่ไม้ การดำเนินชีวิตของประชาชนในพื้นที่สูงส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมน้ำฝนเป็นหลัก ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้มีแนวโน้มลงซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การลักลอบตัดไม้ การเกิดไฟไหม้ป่า รวมทั้งการเปิดพื้นที่ทำการเกษตรโดยปราศจากความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง นำไปสู่การสูญเสียพื้นที่ป่ไม้ การซะล้างทลายของดิน (Soil Erosion) การลดลงของความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ประสิทธิภาพหน้าที่ในการแหล่งตันน้ำลำธารลดลง นำไปสู่ปัญหาภัยแล้งทั้งในพื้นที่ต้นน้ำ และปริมาณน้ำต้นทุนของแหล่งต่าง ๆ ลดลง แนวคิดระบบวนเกษตร (Agro-forest) เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสานร่วมกับพืช

และป่าไม้ โดยมีพืชทางเลือกหลายชนิดที่เหมาะสม ได้แก่ กาแฟอาราบิก้า อโวกาโด บุก สตรอเบอรี่ เสาวรส และแมคคาเดเมีย และหากนำแนวคิดการทำฝ่ายชะลอน้ำ  ซึ่งเป็นแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่  9. เพื่อสร้างความชุ่มขื่นให้พื้นที่ต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ดำเนินการร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพดีสร้างรายได้ให้ชุมชนบนพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนในพื้นที่ บ้านเลโคะ บ้านทียาเพอ บ้านห้วยน้ำใส 

และบ้านแม่ลามาหลวง ตำบลสบเมยอำเภอสบเมย  ได้มีการปลูกพืซกาแฟจนสร้างเป็นอาชีพหลักแทนการทำไร่หมุนเวียนได้มากขึ้นตามลำดับ โดยปลูกกาแฟภายใต้พืชร่มเงา เช่น ต้นเนียง กล้วย ลิ้นจี่ อาโวภาโดและไม้ป่า เป็นต้น และมีแนวโน้มจะขยายการปลูกกาแฟอย่างต่อเนื่อง และอาจมีแนวโน้มขยายไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง จึงมีความต้องการต้นพันธุ์กาแฟเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้การปลูกกาแฟต้องดำเนินการภายใต้มาตรฐานสากลทั้งในระบบ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) หรือ ระบบเกษตรอินทรีย์ (Organic หรือมาตรฐานที่สูงขึ้นไป นอกจากนี้ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ยังได้ให้การสนับสนุนต้นกล้ากาแฟอาราบิก้า เชียงใหม่  จำนวน 10,000 ต้น

โดยโครงการนี้ทางกรมชลประทานที่ให้การสนับสนุนโครงการกิจกรรมแจกต้นกล้ากาแฟอาราบิก้าเชียงใหม่ 80  โครงการอนุรักษ์ป่า ดิน และน้ำ ในพื้นที่ต้นน้ำภาคเหนือ โดยใช้ระบบวนเกษตรในการส่งเสริมการสร้างมาตรฐานผลผลิตและการตลาดของพืชกาแฟ และขอให้กิจกรรมในครั้งนี้