ผู้ว่าฯลงพื้นที่ผลักดันโขลงช้างป่าเขาอ่างฤาไนข้ามฝั่งมาไกลจากแปดริ้วมากกว่า100ตัว


ปราจีนบุรี - ผู้ว่าฯลงพื้นที่ผลักดันโขลงช้างป่าเขาอ่างฤาไนข้ามฝั่งมาไกลจากแปดริ้วมากกว่า100ตัว(บวก)ด้วยตัวเอง หลังจากยกโขลงโยกย้ายข้ามถิ่นเข้ามาหากินแล้วไม่ยอมกลับคืนถิ่นที่อยู่เดิม โดยช่วงแล้ง-หนาวนี้ไร่อ้อย-ไร่มันสำปะหลัง แถบตำบลวังท่าช้าง-ตำบลเขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี กำลังให้ผลผลิตเป็นแหล่งอาหารชั้นเลิศ ประกอบกับมีสวนป่ายูคาลิปตัสที่หมดสัมปทานจากป่าไม้พื้นที่รกร้างมากกว่า2,000ไร่เป็นแหล่งที่อยู่
เมื่อ16.00 น.วันนี้10 ม.ค.66 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานความคืบหน้า จากที่ได้มีการร้องทุกข์จากชาวบ้าน มีโขลงข้างป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา จำนวนมากกว่า100ตัว(บวก) ข้ามฝั่งมาหากินไกล ชาวบ้านผลักดันแล้ว ไม่ยอมกลับคืนถิ่นที่อยู่เดิม ที่หมู่บ้านวังกวาง ต.วังท่าช่าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ตามที่นำเสนอรายละเอียดก่อนหน้านี้ นั้น
ความคืบหน้าล่าสุด นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีพร้อมด้วย ปภ.จังหวัดปราจีนบุรี, สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 ปราจีนบุรี อบต. กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน และ จิตอาสาเฝ้าระวังช้างป่า ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ช้างป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน( ในผืนป่าราบต่ำแห่งสุดท้ายในป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา จ.สระแก้ว จ.จันทบุรี จ. ชลบุรี จ.ระยอง) ที่ข้ามฝั่งเข้ามาไกลจาก จ.ฉะเชิงเทรา เข้ามาหากินในพื้นที่ ซึ่งจำนวนฝูงช้างป่า 100 ตัว(บวก) ได้อพยพเข้ามาหากินในพื้นที่การเกษตรของราษฎรสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก
โดยได้ทำการมาลงพื้นที่ บริเวณป่าอ้อยข้างหมู่บ้าน โดยใช้ โดรนบินสำรวจ ได้พบโขลงช้างป่าจำนวนดังกล่าวกำลังพากันหากินและอาศัยอยู่ในป่าอ้อยทึบ สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย ซึ่งอาสาสมัครและผู้นำท้องถิ่นท้องที่เฝ้าระวังฝูงช้างป่าให้อยู่ในที่ควบคุม หากฝูงช้างป่า- คนต้อนผลักดัน มีความพร้อมที่จะอพยพ ชุดผลักดันก็จะทำการผลักดันช้างป่าให้ออกจากพื้นที่กลับไปอยู่ในพื้นที่ของป่าอนุรักษ์ต่อไป พร้อมกับแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน ให้เฝ้าระวังเจ้าหน้าที่จะคอยกัน ไม่ให้ช้างป่าเข้าสู่หมู่บ้านอาจจะทำความเสียหายกับชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน
ระยะต่อไปจะหารือกับงานในทุกๆฝ่าย ผลักดันช้างป่าให้กลับพื้นที่อนุรักษ์ ไม่ให้ออกมาหากินในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ส่วนการช่วยเหลือเยียวยาให้แก่เกษตรกรที่ได้รับการเสียหาย เร่งการช่วยเหลือตามกฎเป็นของทางราชการที่กำหนดไว้ ส่วนใหญ่ช้างป่าที่เข้ามาหากินในพื้นที่ของเกษตรกรลักษณะฉาบฉวยไม่ได้เสียหายแบบ 100%
ทางอบต.จะสำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือตามตามสมควร นั้นได้เดินทางไปเยี่ยมให้กำลังใจครูนาตยา เรืองศรี ที่ถูกโขลงช้างป่าบุกเข้ามาพังยุ้งข้าวและขโมยข้าวเปลือกไปกินเมื่อคืนวานก่อน
ด้านนายสุนทร คมคาย แกนนำวิสาหกิจชุมชนว่าที่ผู้สมัคร สส.ปราจีนบุรีพรรคก้าวไกล เขต3 และ อาสาสมัครเฝ้าระวังผลักดันช้างป่า ต.เขาไม้แก้ว อ. กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า โขลงช้างป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขา อ่างฤาไน ( ในผืนป่าราบต่ำแห่งสุดท้ายในป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา จ.สระแก้ว จ.จันทบุรี จ. ชลบุรี จ.ระยอง) จำนวนมากกว่า100ตัว(บวก)ดังกล่าว ข้ามฝั่งมาจากพื้นที่รอยต่อ จ.ฉะเชิงเทรา ชาวบ้านทำการผลักดัน เมื่อกลางดึก แต่ช่วงคนเผลอเช้าวันนี้ ก็ยกโขลงหวนกลับคืนมา เช่นเดิม ไม่ยอมกลับคืนถิ่นที่อยู่ป่าเดิมที่แปดริ้ว
โดยยกโขลงเข้ามาพัก ที่อยู่อาศัยที่บริเวณสวนป่ายูคาลิปตัส ที่ถูกปล่อยรกร้างว่างเปล่าของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งที่หมดสัญญาการทำสัมปทานจากกรมป่าไม้เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื้อที่รวมมากกว่า 2,000 ไร่ ตั้งแต่ช่วงสมัยอดีตพลตรีสนั่น หรือเสธฯหนั่น ขจรประศาสตร์อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์ ที่มี โขลงช้างป่าได้เข้ามาอาศัยอยู่ก่อนหน้ากว่า30ตัว(บวก) โดย โขลงช้างป่ารวมจำนวนกว่า 100 ตัว(บวก) ได้ข้ามฝั่งจากแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา เข้ามาหากินและ อาศัยอยู่ ในสวนป่ายูคาลิปตัสร้างดังกล่าวหลังถูกผลักดัน
โดยในแต่ละวัน ในช่วงกลางคืนจะยกโขลงออกหากิน ถึงจะถูกผลักดันก็ ไม่ยอมยกโขลง กลับคืนผืนป่าราบต่ำฯ ถิ่นที่อยู่ดั้งเดิม ที่ป่า แปดริ้ว หรือ จ.ฉะเชิงเทรา เพราะพื้นที่ฝั่ง ต.วังท่าช้าง ต.เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี มีแหล่งอาหารคือไร่อ้อย – ไร่มันสำปะหลัง ที่ช่วงแล้ง-หนาวนี้กำลังให้ผลผลิต-กำลังตัดส่งโรงหีบน้ำตาล และ มีที่อยู่พร้อม ซึ่งได้เสนอเป็นนโยบายพรรคก้าวไกลในการแก้ไขปัญหาช้างป่าภาคตะวันออก เสนอแนวทาง เพื่อแก้ไขแหล่งอยู่อาศัยของโขลงช้างป่า ที่เข้ามาใช้สวนป่ายูคาลิปตัสร้าง ที่ครบสัมปทานไปแล้วนี้
"เป็นไปได้หรือไม่ที่ทางรัฐบาลฯหรือกรมป่าไม้ จะมอบหมายอำอาจทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) อาทิ องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ได้เข้าไปดูแล-จัดสรรให้ราษฎรได้ใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรต่างๆ? หรือ ทำพื้นที่ทั้งฝั่งปราจีนบุรี-แปดริ้วให้ผืนป่า พื้นที่รกร้างพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว แบบซาฟารี มีการปลูกอาหาร แหล่งน้ำ คูกันช้างป่า " นายสุนทร กล่าว
มานิตย์ สนับบุญ/ปราจีนบุรี รายงาน