"อานนท์ "เดินหน้าหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก “ร.9 ถึง ร.10 สู่ผองไทยทั่วแหล่งหล้า

"อานนท์ "เดินหน้าหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก “ร.9 ถึง ร.10 สู่ผองไทยทั่วแหล่งหล้า





ad1

วันนี้ (1 สิงหาคม 2565) ณ อาคารศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย บ้านพรสวรรค์ ต.หนองนาคำ อ.เมือง จ.อุดรธานี นายอานนท์ แสนน่าน ประจำสำนักเลขาธิการนายกฯรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เป็นประธานประชุม"เครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย" ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก “ร.9 ถึง ร.10 สู่ผองไทยทั่วแหล่งหล้า สืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุขปวงประชา” 

นางนิตยา นาโล หรือ “นักสู้ปอสี่” ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนภาคอีสาน เปิดเผยว่า วันนี้พวกเราเกษตรกรได้ออกมาขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก “ร.9 ถึง ร.10 สู่ผองไทยทั่วแหล่งหล้า สืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุขปวงประชา” และต้องการส่งเสริมความรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนส่งเสริมและพัฒนา เศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยสนับสนุนให้มีการจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย จัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน ตลอดจนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดหน้าที่ ประการหนึ่งในการพัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การอาชีพ

การออมและการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชนเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ ของชุมชน ผู้นำชุมชน องค์การชุมชนและเครือข่ายองค์การชุมชน บริหารจัดการให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เนื่องจากกระบวนการพัฒนาชุมชนมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือปฏิบัติงานตามหลัก ความพอประมาณ ความมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ด้วยการใช้ความรู้ ความชอบธรรมและคุณธรรม ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองบนความพอเพียง โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกกรมและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะกรมการปกครอง และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

นางนิตยา กล่าวอีกว่า ทางกลุ่มจึงได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาขยายผลในกระบวนการทำงาน เป็น 3 ระดับ คือ ระดับ “พออยู่” เป็นต้นแบบในการใช้ชีวิตพึ่งตนเอง เน้นการปฏิบัติทำกิน ทำใช้ในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และมีการออม ระดับ “อยู่ดี กินดี” เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการพัฒนาในรูปกลุ่ม การพัฒนารายได้ด้วยระบบกลุ่ม เพื่อเพิ่มรายได้และขยายโอกาสคนในชุมชน และ ระดับ “มั่งมี ศรีสุข” เป็นต้นแบบการบริหารการพัฒนาในรูปแบบองค์กรเครือข่าย เพื่อใช้ศักยภาพในการดำเนินการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เพื่อขยายโอกาสในการประกอบอาชีพและส่งเสริมการจัดสวัสดิการในกับคนในหมู่บ้านชุมชน
เสนาะ วรรักษ์/รายงาน