"ปานเทพ"เผยคนไทย 18.8 ล้านคน เคยใช้กัญชา-แก้ปัญหาต้อง"ยอมรับข้อเท็จจริง

"ปานเทพ"เผยคนไทย 18.8 ล้านคน เคยใช้กัญชา-แก้ปัญหาต้อง"ยอมรับข้อเท็จจริง





ad1

"ปานเทพ" ย้ำคนไทย 18.8 ล้านคน เคยใช้กัญชาแล้ว จะแก้ปัญหาต้องเริ่มต้นจาก “ยอมรับข้อเท็จจริง”


.
 นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกคณะกรรมการสื่อสารและประชาสัมพันธ์การใช้กัญชาอย่างเข้าใจ กระทรวงสาธารณสุข โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว เรื่องคนไทย 18.8 ล้านคน เคยใช้กัญชาแล้ว จะแก้ปัญหาต้องเริ่มต้นจาก “ยอมรับข้อเท็จจริง” โดยมีเนื้อหาดังนี้ 
.
จากผลสำรวจของนิด้าโพลระหว่างวันที่ 13-15 มิถุนายน ที่ระบุว่ามีประชาชนมากถึงร้อยละ 32.98  เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับกัญชามาแล้ว หากผลสำรวจถูกต้องแม่นย้ำ ก็อาจจะประมาณมการได้ว่ามีคนไทยเคยใช้กัญชามาแล้วว่า 18.8 ล้านคนในประเทศไทย
.
โดยในจำนวน 18.8 ล้านคนนี้ มีร้อยละ 60.65 หรือประมาณ 11.4 ล้านคน เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับกัญชาในเรื่องการใช้กัญชาเพื่อประกอบอาหารหรือเครื่องดื่ม
.
มีร้อยละ 30.56 หรือประมาณ 6.69 ล้านคนระบุว่า เคยใช้เพื่อการเสพหรือสูบกัญชา 
.
มีร้อยละ 21.06 หรือประมาณ 3.96 ล้านคน ระบุว่า เคยใช้กัญชาเพื่อรักษาโรค 
.
มีร้อยละ 6.94 หรือประมาณ 1.3 ล้านคนระบุว่าเคยปลูกกัญชา 
.
ผลการสำรวจของนิด้าโพลที่มีผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้กัญชาทางการแพทย์นั้น มากกว่าโครงการวิจัย ศึกษาสถานการณ์ใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย (ระยะที่ 1) ช่วงปี พ.ศ. 2562-2563 ที่ว่า
.
ประมาณการจำนวนผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ของประเทศไทย พบว่ามีประมาณ 442,756 หรือประมาณ 864 คน ต่อ ประชากร แสนคนโดยท่ีภาคกลางเป็นภาคที่มีความชุกของผู้ใช้กัญชาการแพทย์สูงที่สุดที่ 1,440 ต่อประชากรแสนคน ตาม ด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ที่ 622 494 และ 492 คนต่อประชากรแสนคนตามลำดับ
.
“ผู้ใช้กัญชาการแพทย์จำนวนมาก ที่ได้รับกัญชาทางการแพทย์จากตลาดมืด (ร้อยละ 54.5 สำหรับทั่วประเทศ และภาคกลางกับภาคใต้สัดส่วนสูงถึง 77.8 และ 80.4 ตามลำดับ) ซึ่งหมายความว่ากัญชาในระบบบริการของกระทรวง สาธารณสุขนั้นเข้าถึงยากกว่ากัญชาจากภายนอก”
.
หากการสำรวจของนิด้าโพลถูกต้องอาจแปลว่ามีผู้ที่ใช้กัญชาทางการแพทย์หรือเพื่อรักษาโรคมากถึง 3.96 ล้านคน มากย่ิงกว่าการสำรวจของ โครงการวิจัย ศึกษาสถานการณ์ใช้กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทย (ระยะที่ 1) ช่วงปี พ.ศ. 2562-2563 ยิ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคส่วนใหญ่ยังต้องใช้กัญชาใต้ดินเป็นจำนวนมาก ใครโชคร้ายก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม หรือรีดไถ 
.
อย่างไรก็ตามกัญชาใต้ดินเกือบทั้งหมดปนเปื้อนด้วยสารพิษยาฆ่าแมลงและโลหะหนัก และผู้บริโภคไม่ได้รับการคุ้มครองในเรื่องคุณภาพและราคา ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคยังไม่สามารถเข้าถึงกัญชาได้ ทำให้ต้องไปใช้น้ำมันกัญชาใต้ดิน  ตรงกันข้ามกับสถานการณ์ในสถานพยาบาลภาครัฐที่ยังมีการจำหน่ายกัญชาให้คนไข้ได้น้อยมาก โดยในช่วงที่ผ่านมาน้ำมันกัญชาของภาครัฐส่วนใหญ่ที่จ่ายโดยแพทย์แผนปัจจุบันกลับหมดอายุไปครึ่งหนึ่งเพราะไม่ได้มีการจ่ายน้ำกัญชาให้กับคนไข้ได้ตามที่ต้องการ
.
ดังนั้นจำนวนผู้ที่ใช้กัญชาทางการแพทย์หรือเพื่อรักษาโรคมากถึง 3.96 ล้านคนเป็นกลุ่มคนที่ทอดทิ้งไม่ได้ โดยเฉพาะในคนกลุ่มนี้จำนวนมากได้จดแจ้งในการขอปลูกกัญชาเพื่อใช้ในครัวเรือนหรือเพื่อรักษาตัวเองแล้วเช่นกัน
.
สำหรับสังคมไทยประชาชนส่วนใหญ่ใช้กัญชาใต้ดินเพื่อประกอบอาหารและเครื่องดื่มประมาณ 11.4 ล้านคน ซึ่งหากมีการทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่ชึ้นทะเบียบกับองค์การอาหารและยา (อ.ย.) ก็เชื่อได้ว่าจะมีความปลอดภัยสูงมากอย่างแน่นอน โดยมีตัวอย่างดังนี้
.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 424 ออกความตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ยังไม่ให้ช่อดอกกัญชาและกัญชงมาเป็นส่วนผสมในอาหาร
.
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 425 ออกความตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ลงวันที่ 4 มีนาคม  2565 มีสาร THC ต่ำกว่าร้อยละ 0.2 อย่างแน่นอน โดยกำหนดให้ เมล็ดกัญชงมี THC ได้ไม่เกินร้อยละ 0.0005, น้ำมันกัญชงมี THC ได้ไม่เกินร้อยละ 0.0001, โปรตีนจากเมล็ดและกากเมล็ดกัญชงมี THC ได้ไม่เกินร้อยละ 0.0002 และโปรตีนเข้มข้นหรือโปรตีนสกัดจากกัญชงมี THC ได้ไม่เกิน 0.000015 
.
นอกจากนั้นประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 425 ยังได้กำหนดอาหารจากกัญชงอีกหลายชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์ธัญชาติสำหรับอาหารเช้า, ผลิตภัณฑ์ขนมอบทั้งหวานและไม่หวาน, เครื่องดื่มธัญชาติ, ขนมขบเคี้ยว, สลัดแซนวิช กำหนดให้มีสาร THC ได้ไม่เกิน 0.000015 หรือ 0.15 ส่วนในล้านส่วน
.
นอกจากนี้ก็ยังมีประกาศกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการร้านอาหารติดป้ายหน้าร้าน แจ้งเอาไว้ในเมนู จำนวนที่ในการใช้ใบกัญชาหรือกัญชงในการปรุงอาหารไม่เกิน 2 ใบ พร้อมคำเตือนในการรับประทานอยู่แล้ว ซึ่งก็ยังอยู่ในระดับที่มีความปลอดภัย
.
โดยเฉพาะหากมีการใช้ใบสดที่ไม่ผ่านความร้อน และไม่มีตัวทำละลายด้วยไขมัน เช่น เป็นชา ก็ยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัยและไม่เมา เพราะสาร THC จะยังไม่กลายสภาพจากสาร THCA
.
สำหรับคนที่เคยรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีกัญชาเป็นส่วนผสมจำนวน 18.8 ล้านคนนั้น เมื่อเทียบเคียงจากพฤติกรรมการสำรวจอีสานโพลระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน 2565  เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 91.5 ของคนกลุ่มนี้ จะแค่อยากลองไม่กี่ครั้งหรือกินตามโอกาสต่างๆเท่านั้น จะเหลือคนที่มีความคิดจะกินบ่อยหรือกินประจำประมาณ 1.59 ล้านคนเท่านั้น และส่วนใหญ่ถ้าจะเป็นคนที่กินประจำย่อมรู้ปริมาณและวิธีการบริโภคของตัวเองอยู่แล้ว
.
ส่วนที่มีการกระทำผิดกฎหมายตามที่ปรากฏเป็นข่าว เช่น การที่มีเด็กเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ไปรับประทานอาหารที่ใส่ช่อดอกกัญชา นั้น ไม่ได้แปลว่าบ้านเมืองไร้ขื่อแป หากแต่เจ้าหน้าที่รัฐและเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องทำการจับกุมผู้จำหน่ายและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดต่างหาก เพราะถึงแม้จะมีการตราพระราชกำหนดแล้วเจ้าหน้าที่รัฐไม่บังคับใช้กฎหมาย ก็ไม่สามารถจัดการลงโทษผู้กระทำผิดกกฎหมายได้อยู่ดี
.
แต่นอกเหนือจากกฎหมายแล้ว ยังมีกฎธรรมชาติของกัญชาที่ว่า การใส่กัญชาในการรรับประทานออกฤทธิ์แรงกว่าการสูบ 3-7 เท่าตัว แต่รู้ตัวช้ากว่าการสูบ หากใส่เกินพอดีหรือมากเกินไป เมื่อเกิดอาการเมากลับไม่ได้มีความสุข แต่กลับเกิดอาการที่หวาดวิตก ความดันตก หัวใจเต้นเร็ว หรือแม้แต่เห็นภาพหลอน จนบางคนต้องนำตัวส่งเข้าโรงพยาบาล  ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้บริโภคของคนกลุ่มเหล่านี้จะเข็ดขยาดไม่กลับไปรับประทานกัญชาอีก หรือไม่รับประทานกัญชาร้านนั้นอีก ส่วนผู้ที่ขายกัญชาที่ใส่กัญชาเกินที่กฎหมายกำหนดนอกจากจะต้องเสี่ยงถูกดำเนินคดีความแล้ว ยังจะต้องเสียชื่อเสียงและเสียลูกค้าไม่สามารถสร้างความร่ำรวยได้อีกต่อไปด้วยเช่นกัน 
.
ส่วนประชาชนที่ใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคอีกประมาณ 3.96 ล้านคนนั้น น่าจะได้ประโยชน์มากที่สุดในช่วงเวลานี้มากขึ้น เพราะเมื่อกฎหมายปลดล็อกมากขึ้นแล้ว นอกจากจะสามารถปลูกกัญชาเพื่อเป็นยารักษาที่บ้านแทนการเสียเงินซื้อน้ำมันกัญชาใต้ดินที่มีอันตรายและแพงแล้ว ยังสามารถรับบริการคลินิกและโรงพยาบาลเอกชนที่เดิมมีใบอนุญาตจำหน่าย แต่ไม่มีผลิตภัณฑ์กัญชา ก็สามารถจ่ายยากัญชาได้มากขึ้นและปลอดภัยมากขึ้นในช่วงสุญญากาศทางกฎหมายนี้  
.
ส่วนสายเขียวนักสูบอีกจำนวน 6.69 ล้านคนนั้น เมื่อเทียบเคียงจากพฤติกรรมการสำรวจอีสานโพลระหว่างวันที่ 17-19 มิถุนายน 2565 พบว่าหากพิจารณาเฉพาะประชาชนในกลุ่มที่คิดจะสูบหรือเสพนี้ส่วนใหญ่มีความคิดที่จะสูบตามโอกาสต่างๆร้อยละ 32.02 หรือจะลองไม่กี่ครั้งร้อยละ 57.40 โดยจะมีประชาชนในกลุ่มนี้ที่คิดจะสูบเป็นประจำประมาณร้อยละ 10.57 หรือประมาณ 7 แสนคน ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็นคนที่สูบอยู่แล้ว
.
อย่างไรก็ตามแม้จะมีเสียงเรียกร้องในเรื่องการสูบเพื่อนันทนาการหรือเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่ด้วยวัตถุประสงค์ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องการส่งเสริมกัญชา เพื่อทางการแพทย์ เพื่อสุขภาพ และเศรษฐกิจเท่านั้น จึงไม่เห็นด้วยกับการสูบกัญชาที่มีสารพิษจากการเผาไหม้และก่อให้เกิดโทษต่อระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสูบในที่สาธารณะ เพราะด้วยเหตุที่ว่ามีกลิ่นและควันความรำคาญให้กับผู้อื่น
.
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ให้กลิ่นและควันเป็นสิ่งที่รำคาญ ตามมาด้วยประกาศกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2565 ที่สูบในที่สาธารณะ ห้ามจำหน่ายให้กับเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี และห้ามจำหน่ายให้กับสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
.
ส่วนข้อกำหนดอื่นๆที่ภาคประชาสังคมเสนอแนะในระหว่างรอกรรมาธิการเพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. กัญชา กัญชง พ.ศ… อยู่นี้ บางข้อเสนออาจอยู่นอกเหนือกว่าอำนาจทางกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอาจจะได้มีการรวบรวมและเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพืชกัญชาและกัญชง ในวันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2565 เวลา 14.00 น.-16.30 น. ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร อาคาร 1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขต่อไป

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน