ทพ.41ลุยงานมวลชนพบปะครูสอนศานา ปลูกฝังเยาวชนรักชาติ ห่างไกลยาเสพติด

ทพ.41ลุยงานมวลชนพบปะครูสอนศานา ปลูกฝังเยาวชนรักชาติ ห่างไกลยาเสพติด





ad1

ยะลา- ทหารพราน 41รุกงานมวลชน เข้าพบปะพัฒนาสัมพันธ์กับครูสอนศาสนา ปลูกฝังเยาวชนรักชาติ ห่างไกลยาเสพติด

วันนี้(19 มิถุนายน 2565) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศในหลายพื้นที่ของจังหวัดชายแดนชายแดนภาคใต้ หลังจากสถานการณ์ในพื้นที่เริ่มคลี่คบายในระดับหนึ่ง พี่ทหารพรานได้ดำเนินการงานมวลขนเชิงรุก เข้าเยี่ยมครูสอนตาดีกา เพื่อปรับภาพลักษณ์ของความขัดแย้งมาตลอดหลายปีกลับมาเป็นมิตรเป็นเพื่อน อย่างรู้ใจ

ล่าสุดวานนี้เวลา 08.00 น. ที่ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด ( ตาดีกา ) ยามีอุลมุสลีมีน ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 41 จัดชุดปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้าใจ กองร้อยทหารพรานที่ 4103 เข้าพบปะพัฒนาสัมพันธ์กับครูสอนศาสนา และนักเรียน เพื่อรับฟังปัญหาข้อขัดข้องในด้านต่างๆ ปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และให้ความรู้เด็กนักเรียนเกี่ยวกับโทษภัยของยาเสพติด เพื่อให้น้องๆนักเรียนรู้จักโทษและพิษภัยของยาเสพติดมากยิ่งขึ้น เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าหน้า บุคลากรกรทางการศึกษา และนักเรียนในพื้นที่

ทั้งนี้การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ถือเป็นนโยบายของแม่ทัพภาคที่ 4 ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด และวิธีการป้องกันตนเอง รับรู้โทษ และพิษภัยยาเสพติด เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่จะทำให้เยาวชนในสถานศึกษาห่างไกลจากยาเสพติด และกลับมาร่วมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกัน พร้อมทั้งได้มอบเครื่องบริโภคให้กับนักเรียน เพื่อสร้างขวัญกำลังใจที่ดี

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าสำหรับสถาบันตาดีกาเป็นสถานศึกษาแห่งหนึ่งที่มีมานับร้อยปีที่ตั้งขึ้นภายใต้ทะเบียนมัสยิดในพื้นที่จังหวัดชายภาคใต้ เพื่อเป็นสถานบ่มเพาะเยาวชนให้เข้าใจถึงคำสั่งสอนของศาสนาในระดับภาคบังคับหรือระดับ"ฟัรดูอีน"ที่มุสลิมทุกคนต้องเรียนรู้เป็นภาคบังคับ โดยมีการสอนเป็นภาษามาลายู อักขระญาวีและรูมี  จะใช้ตำราเรียนหรือคูมือเรียนเป็นภาษามาลายูเช่นกันไม่มีใช้สื่อสารเป็นภาษาไทย แม้ประโยคเดียว เพราะประชาชนคนที่นี่เข้าใจว่าภาษามาลายูเป็นภาษาแม่ของคนในพื้นที่ สื่อสารได้ง่าย เข้าใจง่าย  ครูที่สอนตาดีกาก็ได้มาจากครูอาสาที่มาคนในชุมชนกันเอง ไม่มีค่าจ้าง สอนด้วยใจ บางพื้นที่ผู้ปกครองจัดเลี้ยงมื้อเที่ยงให้กับครู ส่วนภาษาไทยก็ได้เรียนรู้ในโรงเรียนปฐมของรัฐอยู่แล้ว

แต่ตลอดระยะความไม่สงบในพื้นที่ โรงเรียนตาดีกาถูกทางการหรือหน่วยความมั่นคงภายในกลับมองว่าเป็น"แหล่งบ่มเพาะนักรบญูแวเพื่อแยกดินแดน" ทำให้ชีวิตครูสอนตาดีกาถูกเชิญตัว เข้าสู่กระบวนซักถามนับไม่ถ้วน ตามอำนาจกฎหมายพิเศษ อ้างว่าเกิดจากการซักทอดบ้าง  ต้องสงสัยบ้าง สร้างความเบาะช้ำเป็นอย่างมาก หลายคนต้องตกเป็นผู้ต้องหาคดีความมั่นคง ถึงแม้จะมีเสียงท้วงติงจากผู้หลักผู้ใหญ่ในพื้นที่แต่ไม่เป็นพล จนกลายเป็นรอยแผลลึกที่สร้างความเจ็บปวดให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดช่ยแดนภาคใต้ จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรที่จะนำเป็นบทเรียน เข้าไปแล้วต้องไม่ไปสร้างเงื่อนไขใหม่  เพราะมันมีบาดแผลอยู่แล้ว ตะทำให้ยากในการแก้ไขต่อไปในอนาคต และอาจนำสู่เป็นเงื่อนไขของกลับมาของความรุนแรงในพื้นที่