'บิ๊กโจ๊ก' เปิดปฏิบัติการ Joint Mission by IUU Hunter (ชมคลิป)

'บิ๊กโจ๊ก' เปิดปฏิบัติการ Joint Mission by IUU Hunter (ชมคลิป)





Image
ad1

'บิ๊กโจ๊ก' เปิดปฏิบัติการ Joint Mission by IUU Hunter ตรวจประมงกว่า ๑๐,๐๐๐ ลำ ก่อนออกใบอนุญาต เน้นความปลอดภัย อาชีวอนามัย ให้แรงงานประมง

เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. ที่ท่าเทียบเรือองค์การสะพานปลาสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์  หักพาล ผช.ผบ.ตร. ในฐานะประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมง IUU เป็นประธานในการเปิดปฏิบัติการการตรวจเครื่องมือประมงแบบบูรณาการ เพื่อประกอบการออกใบอนุญาตประมงพาณิชย์ รอบปี  ๒๕๖๕ - ๒๕๖๗ โดยมีหน่วยงานเข้าร่วมประกอบด้วย กรมประมง กรมเจ้าท่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ศูนย์รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.)

เป็นไปตาม พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้เรือประมงพาณิชย์ที่จะออกทำการประมงต้องได้ ใบอนุญาตจากกรมประมง คราวละ ๒ ปี นับตั้งแต่ วันที่ ๑ เมษายน - ๓๑ มีนาคม โดยได้ ปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ๓ ครั้งแล้ว ได้แก้ ช่วงปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๑ ช่วงปี ๒๕๖๑ - ๒๕๖๓ และช่วงปี ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ โดยที่ใบอนุญาต ทำการประมงกำลังจะสิ้นสุดอายุลงในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕ เจ้าของเรือประมงพาณิชย์จึงต้องยื่น ขอใบอนุญาตรอบใหม่ (๒๕๖๕ – ๒๕๖๗) ซึ่งกรมประมงจะต้องออกใบอนุญาตให้ภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕

ในการยื่นขอใบอนุญาตทำการประมงดังกล่าว ปกติกรมประมงจะดำเนินการตรวจสอบมาตรฐาน เครื่องมือประมงและจัดเก็บข้อมูลเรือประมงทุกลำ แต่ยังมีข้อมูลบางประการที่ต้องการความรู้ ความชำนาญ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมเจ้าท่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มาร่วมเติมเต็มให้ระบบ ตรวจสอบ ควบคุม และเฝ้าระวังการทำประมง มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นในการขอรับใบอนุญาต ทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ ครั้งนี้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผช.ผบ.ตร. จึงได้ ประสานงานให้ บูรณาการการตรวจเรือประมงพาณิชย์ จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งระบบ ครบวงจร โดยกรมประมง รับผิดชอบการตรวจมาตรฐานเครื่องมือประมง กรมเจ้าท่ารับผิดชอบการตรวจอัตลักษณ์เรือประมง และ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับผิดชอบการตรวจเรือประมงเพื่อส่งเสริมให้แรงงานบนเรือประมง มีสภาพการทำงานที่สอดคล้องตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ยิ่งไปกว่านั้น

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผช.ผบ.ตร. ยังได้จัดชุดปฏิบัติการจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือหน่วย “IUU Hunter” เข้าร่วมการตรวจเรือประมงในครั้งนี้ด้วย เพื่อยกระดับการติดตาม ควบคุม และ เฝ้าระวัง (Monitoring Control and Surveillance : MCS) ให้ การประมงไทย ปราศจากการประมง IUU ปราศจากแรงงานบังคับ ปราศจากการค้ามนุษย์ อย่างแท้ จริง โดยดำเนินการตรวจเรือประมงพาณิชย์ ๑๐,๐๐๐ ลำ ที่จะขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์  - มีนาคม ๒๕๖๕ นี้ ซึ่งพี่น้อง ชาวเรือประมงพาณิชย์ ทุกท่านสามารถนัดหมายการตรวจได้ ที่ ศูนย์แจ้งเข้าออกเรือประมง (PIPO) หรือ สำนักงานประมงจังหวัดทุกแห่ง

“การบูรณาการตรวจเรือประมงทั้งระบบครั้งนี้ เป็นปฏิบัติการยกระดับประสิทธิภาพการตรวจสอบ ติดตาม และเฝ้าระวังการทำประมง (MCS) ของประเทศไทย เพื่อมุ้งสู่บทบาท “ผู้นำการต่อต้านประมง IUU ในภูมิภาคอาเซียน” นอกจากนั้นยังเป็นการขับเคลื่อนให้เห็นถึงความพยายามของประเทศไทยอย่างเต็มที่ ในการบังคับใช้กฎหมาย ปรับปรุงระบบการทำงาน เพิ่มพูนความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ และประสาน ความร่วมมือจากพี่น้องชาวประมง เพื่อเลื่อนอันดับการค้ามนุษย์จาก Tier 2 Watchlist เป็น Tier 2 โดยผมได้จัดกำลังชุดปฏิบัติการ IUU Hunter จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวนกว่า ๑๐๐ นาย เข้าร่วม ปฏิบัติการตรวจครั้งนี้ด้วย เจ้าหน้าที่ชุด IUU Hunter จะลงพื้นที่ทุกจุดตรวจใน ๒๒ จังหวัดชายทะเล ร่วมกับ กรมประมง กรมเจ้าท่า และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และจากการที่ผมกำลังรื้อฟื้น สืบสวนสอบสวน ทุกคดีที่เกี่ยวข้องกับกรณีลูกเรือประมงตกน้ำสูญหาย ๒๓๑ ราย ในรอบ ๒ ปี ซึ่งเป็นที่จับตามองของ ภาคประชาสังคม เพื่อทำความกระจ่างให้เกิดขึ้นกับเหตุการณ์ความสูญเสียที่ผ่านมา

 ครั้งนี้ผมจึงได้จัดให้มี การตรวจเพื่อส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัย และอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน บนเรือประมง ขึ้นเป็นครั้งแรกของภูมิภาคอาเซียน เพื่อแสดงความมุ้งมั่นตั้งใจของประเทศไทยที่จะแก่ไข ปัญหา และกำหนดมาตรการส่งเสริม ป้องกัน มิให้เกิดเหตุขึ้นต่อไปในอนาคต แต่หากมีเหตุเกิดขึ้น การบังคับ ใช้กฎหมายจะมีความเป็นระบบ ชัดเจน สามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษได้อย่างทันท้วงที รวมทั้ง เพิ่มความรวดเร็วในการเยียวยาความเสียหายให้กับครอบครัวหรือญาติมิตร ในฐานะเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งผมมั่นใจว่านี่คือการทำงานอย่างมาตรฐานสากล ในการตรวจครั้งนี้

ท่านนายกรัฐมนตรี ท่านรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในฐานะ ประธานกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ทุกคน อำนวยความสะดวก ให้กับพี่น้อง ชาวประมง ดำเนินการตรวจให้รวดเร็ว คล่องแคล่ว ว่องไว เรือที่ผ่านการตรวจจะได้รับเครื่องหมาย ติดไว้บริเวณหน้าเก๋ง เป็นสัญลักษณ์ว่า เรือประมงลำนี้มีความมุ้งมั่น ตั้งใจที่จะทำการประมงอย่างยั่งยืน สามารถเข้าถึงนโยบายการสนับสนุนต่าง ๆ จากภาครัฐที่จะมีขึ้นต่อไปในอนาคต