(คอลัมนีสต์) สยามนี้มีเรื่องเล่า : สิ่งแปลกใหม่ ในสังคมชาวสยาม

กล้อง

(คอลัมนีสต์) สยามนี้มีเรื่องเล่า : สิ่งแปลกใหม่ ในสังคมชาวสยาม





ad1

(คอลัมนีสต์)

สิ่งแปลกใหม่ ในสังคมชาวสยาม
สยามนี้มีเรื่องเล่า
โดย..ดร. สุวิจักขณ์ ภานุสรณ์ฐากูร

     จริงแล้วเรื่องนี้ มีข้อมูลมากมาย จะสื่อออนไลน์อยู่แล้ว เพียงแต่สืบค้นข้อมูล ก็จะได้เรื่องราวมากมาย ที่ถูกบันทึกเอาไว้ แต่...
     สำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานเขียนของผม หรือติดตามเพจอยู่แล้ว คงอยากจะได้อ่าน บทความที่เป็นสำนวนแท้ ๆ ของผม มากกว่าการอ่านจาก สื่อออนไลน์อื่น ตรงนี้เรียกว่า เป็นความคุ้นเคยกัน ดังนั้นเรามาเริ่มกันเลยครับ

     สิ่งแปลกใหม่ที่ว่านี้ ผมมุ่งไปที่ประเด็นเดียว สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว อีกครั้งเห็นจากรูปภาพในอดีต จะเห็นว่าเป็นที่นิยมชมชอบ ของคนในรั้วในวัง
สิ่งนั้นก็คือกล้องถ่ายรูปครับ
     เราทราบเรื่องราวในอดีต ผ่านจากการบันทึกรูปภาพเอาไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่การแต่งกายอาหารการกินรวมถึงสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5
     โดยกล้องถ่ายรูปนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เราจะเห็นว่ามีรูปภาพมากมาย ที่เกี่ยวกับพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ในหลวงรัชกาลที่ 5 ในขณะ ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งเป็นรูปภาพที่หาชมยาก และ ไม่รู้จะหาแหล่งอ้างอิงจากตรงไหนหากไม่ได้มีการบันทึกเอาไว้

     จึงนับว่าเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการสืบค้นเรื่องราวในอดีต ผ่านจากการมองผ่านเลนส์ 
     ผมได้เคยนำเสนอเรื่องราวของในหลวงรัชกาลที่ 5 ในการเสด็จประพาสต้น ซึ่งพระองค์ได้บันทึก รูปภาพเอาไว้เป็นจำนวนมากอีกทั้ง ยังได้มีการจดบันทึก เอาไว้ซึ่งในอีกหลายปีต่อมา บันทึกนั้นได้นำมาเรียบเรียง เป็นหนังสือการเสด็จประพาสต้นนั่นเอง 
     และแน่นอนครับว่าหนังสือก็จะต้องมีรูปภาพประกอบเพื่อให้เห็นว่า สิ่งที่ได้พูดถึงนั้นคืออะไร มีลักษณะอย่างไรอยู่ที่ไหน กล่าวก็คือใคร อะไร ยังไรนั่นเอง
     อย่างเช่นครั้งเมื่อเสด็จประพาส จังหวัดกำแพงเพชรและได้ทรงฉายพระรูปเอาไว้ เรียกว่าภาพ "นั่งนก" เป็นต้น หมายถึงผู้ติดตามนั้นนั่งหันหลังให้พระองค์ถ่ายรูป โดยนั่งเรียงกันไปตามขอนไม้ขนาดใหญ่ 

     ที่ผมรู้สึกประทับใจ ต่อเรื่องราวในอดีตผ่านจากการมองผ่านเลนส์ก็คือเรื่องของการแต่งกายของสุภาพสตรีในยุคนั้น กล่าวคือ
     เราผ่านสายตาจาก ละครทีวี ที่ตัวเอกของเรื่องหรือตัวประกอบก็ดี แต่งเสื้อผ้าอาภรณ์ แลดูงดงาม โดยเฉพาะตัวละครเอกก็ดูดีสุด ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าหน้าผม นั่นเป็นการแสดง...
     แต่ครั้งที่เรามาเห็นจากรูปภาพที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านธรรมดา ซึ่งอาจเป็นสุภาพสตรี นั้นแตกต่างอย่างที่สุด 
     แต่อีกเช่นเคย ที่เราจะเห็นชาววังในสมัยรัชกาลที่ 5 ผมขอเน้นนะครับว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ชาววังนั้นงดงามจริง ๆ อย่างเช่น พระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ นั้นงดงามราวนางสวรรค์จริง ๆ 

     กลับมาที่สุภาพสตรีชาวบ้าน ซึ่งแตกต่างจาก บุคคลในละคร ในสมัยก่อนเวลาเขาชมว่างามนั้น นั่นหมายถึงงามอย่างที่ยุคนั้นเขาเป็นกัน มิอาจเทียบกับในยุคปัจจุบันได้เลย อันนี้ถ้าผมบอกว่าผู้หญิงสวยขึ้น ผู้ชายหล่อขึ้น ก็น่าจะเป็นแบบนั้น 
     ไม่ต้องย้อนกลับไปไกลครับ เอาตอนที่ผมเป็นเด็ก ผู้ชายหล่อในสมัยนั้นเป็นดารามีหลายท่าน แต่ก็ไม่สามารถเทียบได้กับดาราในยุคนี้ จะว่าไปแล้วอาจจะเรียกว่า หล่อกันคนละยุคก็ได้

     ดังนั้นหากจะว่าไปแล้วผู้หญิงในยุคนั้นที่ว่าสวยที่สุด สำหรับเราในยุคนี้อาจจะไม่ใช่เช่นนั้น ถ้าผมจะพูดไปไกลกว่านั้นอีก...ผู้หญิงที่สวยที่สุดในยุคนี้ อาจจะเป็นผู้หญิงแบบที่ธรรมดาที่สุดในอีก 20 30 ปีข้างหน้าก็ได้ เพราะความสวยในแต่ละยุคมันไม่เหมือนกัน
     ในสมัยของพระพุทธเจ้าหลวงมีเจ้าจอมท่านหนึ่งเป็นผู้ที่มีความชำนาญในเรื่องของการถ่ายรูปเป็นเจ้าจอมใน ก๊กออ...
     เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถในการเล่นกล้องและเทคนิคการถ่ายรูปมากท่านหนึ่งในพระราชสำนัก นับเป็นนักถ่ายรูป (สมัครเล่น) ที่มีความสามารถด้านการถ่ายรูปและล้างรูปเองได้อย่างชำนาญ จนเป็นที่พอพระราชหฤทัยของรัชกาลที่ 5 เป็นอันมาก
     อีกทั้ง เจ้าจอมเอิบยังได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นช่างถ่ายรูปที่ถวายงานช่วยล้างและอัดรูปให้รัชกาลที่ 5 และเจ้าจอมเอิบยังเป็นผู้ถ่ายพระรูปรัชกาลที่ 5 ไว้หลายรูป โดยเฉพาะเมื่อทรงอยู่ในชุดลำลองหรือกำลังทรงตั้งกล้องถ่ายรูปเล่น
     เจ้าจอมเอิบเกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2422 เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอู่ สุรพันธุ์พิสุทธิ์ มีพี่น้องร่วมบิดาและมารดา 4 คน และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 เช่นเดียวกับเจ้าจอบเอิบ คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน เรียกเจ้าจอมกลุ่มนี้ว่า เจ้าจอมก๊กออ