นักวิชาการคาดปีนี้ หมูขาดแคลน 4.5 ล้านตัว คนไทยอาจได้กินหมูกิโลกรัมละ 300 บาท
คาดอนาคตหมูโลละ 300 บาท
นักวิชาการคณะเศรษฐศาสตร์ ร่วมกับคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แสดงความคิดเห็นทางด้านวิชาการต่อปัญหาการเกิดโรคระบาดหมู จนส่งผลกระทบต่อกลไกลตลาดหมูไทย ซึ่งได้เสนอทางเลือกในการแก้ปัญหา หมูแพง กับรัฐบาล
.
ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ระบุสาเหตุหมูแพง เกิดจาก ปี 2564 ปริมาณหมูที่หายไปจากระบบ 8 ล้านตัว โดยอ้างอิงข้อมูลจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทย ส่งผลให้ราคาหน้าฟาร์มขยับขึ้นเป็น 110 บาทจากเดิม 80 บาทต่อ ก.ก. ขณะที่จำนวนหมูที่สามารถผลิตส่งในอุตสาหกรรมอาหารปี 2565 คาดการณ์ไว้ว่าจะเหลืออยู่แค่ 10-12.5 ล้านตัว โดยขณะนี้เหลือเพียงผู้ประกอบการรายใหญ่ร้อยละ 70 ส่วนรายกลางและรายย่อยปิดฟาร์มไปแล้วจำนวนมาก ขณะที่ความต้องการเนื้อหมูขอคนไทยคาดว่าต้องการประมาณ 17 ล้านตัวต่อปี ซึ่งจำนวนที่มีไม่เพียงพอ และจะเกิดภาวะการขาดแคลนเนื้อหมู 4.5 ล้านตัว หรือประมาณ2.7หมื่นตันต่อเดือน และนั่นจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาเนื้อหมูขยับสูงขึ้นไปอีก
.
ด้าน ผศ.ดร.เออวดี เปรมัษเฐียร และผศ.ดร.ณัฐพล พจนาประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ฯ ระบุว่า หากรัฐบาลปล่อยให้กลไกตลาดไปแบบนี้โดยที่ไม่ได้แก้ไขอะไร คาดการณ์ว่า ราคาเนื้อหมูจะสูงถึงกิโลกรัมละ300 บาท ต่อเนื่องเป็นเวลา 8 เดือน เริ่มจากช่วงกลางปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งหากราคาสูงเท่านี้จะเป็นการลดการเข้าถึงโปรตีนของประชาชน และเนื้อสัตว์ประเภทอื่นจะขยับราคาตามการบริโภคไปด้วย ซึ่งหากรัฐควรเข้ามาแทรกแซงและกำหนดเพดานราคาหน้าฟาร์มหมู ด้วยวิธีการ กำหนดราคาหน้าฟาร์มที่ 110 บาท/ก.ก. เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงยังอยู่ได้ยิ่งในภาวะต้นทุนสูง รวมถึงการนำหมูเข้าจากต่างประเทศ ควรนำมาในช่วงที่ราคาหมูหน้าฟาร์มไปแตะที่ 120 บาท/ ก.ก. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะการนำเนื้อหมูเข้ามาในช่วงนี้จะรักษาระดับราคาตลาดได้คงที่ โดยราคาหน้าฟาร์มจะอยุ่ในเรตที่เกษตรกรรับได้ และยังช่วยลดระดับราคาขายปลีกจา 225 บาทเป็น 200 บาทต่อก.ก. อีกทั้งควรนำหมูเข้าจากกลุ่มสหภาพยุโรป เนื่องจากปลอดสารเนื้อแดงและเขตปลอดโรค ASF ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการขนส่งและการตรวจหาเชื้อ ไม่ไปเพิ่มภาระให้กับผู้บริโภค ส่วนปริมาณที่นำเข้า ควรควบคุมให้อยู่ในปริมาณตามความต้องการคือ 25,000-27,000 ตัน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้ที่มีหมูส่งเข้าตลาดได้อยู่ ทั้งวิธีการนำเนื้อหมูเข้าเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น เพื่อรอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายย่อยและรายกลางกลับเข้าสู่ระบบได้ และแนะนำให้รัฐเก็บค่าธรรมนำเข้าเนื้อหมูกับนายทุนที่นำเข้ามา เพื่อทำเป็นกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อยให้สามารถตั้งตัวกลับมาเลี้ยงหมูได้ และแนะนำให้การจำหน่ายเนื้อสุกรควรแจ้งให้ทราบว่า หมูที่ซื้อเป็นหมูไทยหรือหมูนำเข้า
.
ทั้งนี้ทางภาควิชาคณะเศรษฐศาสตร์ ประเมินมูลค่าความเสียหายจากโรคระบาดในหมูตั้งแต่ปี 2562-2654 ดร.สุวรรณา สายรวมญาติ คาดว่า มูลค่าทางเศรษฐกิจที่สูญหายไป โดยอ้างอิงจากจำนวนเงินของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูหายไปจากระบบประมาณ 1.5 แสนล้านบาท และจำนวนหมูที่หายไปจากระบบในปี 2564 8 ล้านตัว อ้างอิงจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทย โดยคำนวนอยูที่ 1 ตัว 8000 บาท คาดเสียหายประมาณ 64 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมงบประมาณที่รัฐจะต้องจัดสรรไปจัดซื้อเนื้อหมูนำเข้าเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคประมาณเดือนละ 27,000 ตัน ซึ่งหากพิจารณาตามโมเดลการจัดการโรคระบาด ASF ในจีน ที่สามารถฟื้นระบบหมูได้ใน 2 ปี แต่เป็นกลไกลที่ทำให้ผู้เลี้ยงรายใหญ่อยู่ได้ ขณะที่รายย่อยไม่สามารถกลับเข้าสู่ตลาดได้ ซึ่งจะเห็นว่า รัฐจะใช้งบประมาณจำนวนมากในการฟื้นฟูระบบ