นราธิวาสลุยปูพื้นฐานระบบการเงินสอดคล้องกับหลักสูตรชะรีอะห์

นราธิวาสลุยปูพื้นฐานระบบการเงินสอดคล้องกับหลักสูตรชะรีอะห์





ad1

นราธิวาส-มหากวิทยาลัยเกริก จับมือ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ผนึกกำลังระหว่างองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อวางรากฐานและพัฒนา ระบบการเงินให้เป็นสอดคล้องกับหลักชะรีอะห์ (หลักบัญญัติอิสลาม)  

มหาวิทยาลัยเกริก นำโดยศาสตราจารย์ ดร.กระแส ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก พร้อมด้วย นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย กรรมการและผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางวิชาการกับ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ในด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อวางรากฐานและพัฒนา ระบบการเงินให้เป็นสอดคล้องกับหลักชะรีอะห์ (หลักบัญญัติอิสลาม) โดยมี ดร.พัชราวดี ตรีชัย  คณบดีคณะบริหารธุรกิจ  และนางนุจรี ภักดีเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนาม

พร้อมกันนั้นได้จัดให้มีการสัมมนา “เปิดโลกการเงินอิสลาม “เปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ความรู้ทางการเงินการเงินการธนาคารอิสลามสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก “ การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล โดยนายเชิดชัย เลิศดำรงค์ลักษณ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารเสี่ยงสินเชื่อธุรกิจ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  การเงินการธนาคารอิสลาม โดย ดร.ชัชวาลย์ นิยมวิทยานนท์  ผู้อำนวยการฝ่ายชะรีอะฮ์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร เหมือนหรือต่างกับธนาคารทั่วไป โดย ดร.อาบีดีน วันขวัญ ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายผลิตภัณฑ์ชะรีอะฮ์ ปิฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายรัฐ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และความสำคัญของการเงินอิสลาม โดยดร.สมีธ อีซอ อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจอิสลาม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก 

อาจารย์สราวุธ และซัน หัวหน้าสาขาวิชาบริหารธุรกิจอิสลาม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก เปิดเผยว่า ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกริกเปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอิสลาม ประกอบด้วย 3 วิชาเอก คือ การเงินอิสลาม อุตสาหกรรมฮาลาล และการจัดการบริการฮัจย์และอุมเราะห์ มีนักศึกษากว่า 80 คน 

ทั้งนี้ การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยเกริกกับธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยในครั้งนี้ ถือเป็นการติดกระดุมเม็ดแรกที่จะนำไปสู่ความร่วมมือระดับนานาชาติ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเกริกมีแผนในต้นปี 2565 ที่จะทำความร่วมมือกับประเทศตะวันออกกลางอย่าง ซาอุดิอาระเบีย คูเวต ในมหาวิทยาลัยชั้นนำ และสถาบันทางการเงิน โดยมีเป้าหมายและมุ่งหวังจะให้ความร่วมมือการศึกษาเป็นสะพานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ซาอุ กลับมาแน่นแฟ้นอีกครั้ง โดยในปี 2565 มหาวิทยาลัยเกริก มีความร่วมมือกับสำนักจุฬาราชมนตรี มอบทุนการศึกษา ระดับปริญญาตรี 250 ทุน เพื่อพัฒนาทั้ง 3 ด้าน ซึ่งจะเปิดรับสมัครทุนในวันที่ 13 ธค 2564 ทางเพจสำนักจุฬาราชมนตรี