"ญัฮกรุ" กลุ่มชาติพันธุ์ที่เหลืออยู่ในเทพสถิต

3 กรกฎาคม 2566

"ญัฮกรุ" กลุ่มชาติพันธุ์ที่เหลืออยู่ในเทพสถิต





ad1

“ญัฮกรุ” กลุ่มชาติพันธุ์ที่เหลืออยู่ใน เทพสถิต

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ที่บริเวณ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ การท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิร่วมกับ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดงานทุ่งกระเจียวบาน ประจำปี 2566 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ในงานมีกิจกรรรม พาชมดอกกระเจียวบาน จัดนิทรรศการ การออกร้านต่างๆ มากมาย

ในขณะเดียวกัน อ.ศิริพร หมั่นงาน หัวหน้าโครงการวิจัยภาษาชาติพันธุ์ ญัฮกรุ ได้จัดกิจกรรมการแสดงของนักเรียนและชนเผ่าพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ ญัฮกรุ เพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมของ กลุ่ม “ญัฮกรุ” อีกด้วย

อาจารย์ ศิริพร หมั่นงาน หัวหน้าโครงการวิจัยภาษาชาติพันธุ์ ญัฮกรุ เผยว่า กลุ่มชาติพันธุ์เป็นชื่อ ญัฮ แปลว่า คน กรุ แปลว่า ภูเขา รวมชื่อ คือคนภูเขา เดิมจะอยู่ตามสันเขาพังเหย จากเพชรบูรณ์ มาที่ชัยภุมิและไปนครราชสีมา เพราะฉะนั้นในประเทศไทยจะมีกลุ่มชาติพันธุ์ญัฮกรุ ใน 3 จังหวัด แต่ที่อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิหนาแน่นที่สุด

ต่อมานักภาษาศาสตร์ได้สำรวจไว้มีอยู่ประมาณ 6,000 คน แต่ในสมัยก่อน ชาวญัฮกรุ จะแต่งงานในกลุ่มเดียวกัน แต่ตอนนี้แต่งข้ามกลุ่มได้แล้ว เมื่อไปทำงานต่างจังหวัดก็แต่งงานข้ามกลุ่ม แต่ก่อนนั้นจะไม่ได้เลย ปัญหาในโรงเรียนก็คือ เด็กจะมีสายเลือดใกล้ชิด อาจมีปัญหาด้านการเรียนรู้ แต่ตอนนี้แต่งงานข้ามกลุ่มได้ ปัจจุบันก็เหมือนเด็กทั่วไป เพียงแต่ว่าภาษาที่ใช้มี 2 ภาษา มีภาษาของแม่ เมื่อเข้าสู่ระบบโรงเรียนก็เรียนภาษาไทย พูดภาษาไทย ดังนั้น เดี๋ยวนี้เด็กจะไม่พูดภาษาแม่ เมื่อพูดด้วยเขาจะพูดภาษาไทยตอบ เขาจะไม่พูดภาษาญัฮกรุแล้ว ดังนั้น จึงพยายามฟื้นฟูวัฒนธรรม ถึงแม้เขาจะไม่พูดภาษาถิ่นแล้ว แต่วิถีความเป็นอยู่ การแสดงให้เรียนรู้ได้ จะเป็นการเรียนรู้จากกลุ่ม ชาติพันธุ์ผ่านการแสดง ได้ซึมซับผ่านทางกิจกรรมที่มาทำร่วมกับชุมชน เช่นในงานทุ่งกระเจียวบาน ในช่วงเดือนกรกฎาคม ทุกปี “สำหรับบ้านไร่พัฒนา เป็นหมู่บ้านญัฮกรุ ทั้งหมด ก็สามารถเข้าไปศึกษเรียนรู้ได้ แต่เดิมก์อยู่บนเขา ต่อมาได้เป็นอุทยานป่าหินงาน ชาวญัฮกรุ จึงอพยพมาอยู่ด้านล่าง ต่อเดิม จะสร้างบ้านด้วยไม้ไผ่ ถ้ามีเหตุการณ์อะไรเขาก็พร้อมที่จะอพยพได้ตลอด ทิ้งบ้านได้เลย แต่ปัจจุบันจะเป็นบ้านที่ทันสมัยเหมือนทั่วๆไป ส่วนภาษาเขาจะมีแต่ภาษาพูดไม่มีภาษาเขียน ก็เลยได้ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้าน 15 คน ทำวิจัย ทำระบบตัวเขียนให้เขา ก็เลยเป็นงานที่โดดเด่น ติดระดับประเทศ และได้เข้าเฝ้านำหนังสือถวายพระเทพฯ ด้วย เป็นเล่มแรกของโลกภาษาญัฮกรุ

กระทั่งได้รับรางวัลรางวัลครูชอล์คทองคำ รางวัลเสมาทองคำ ยอดครูผู้มีอุดมการณ์ คือได้ดูแลเด็กที่อยู่ ในซอกเขาหุบเขาที่ไม่มีใครเข้าไปถึง เข้าไปยากลำบากไม่มีใครดูแล ทำให้สังคมยกระดับความเสมอภาค ทางสังคม มีภาษา มีระบบพูดและตัวเขียน และเอาเข้าสู่ระบบโรงเรียน มีหนังสือเรียน แต่ยืมตัวไทยมาเขียน ยืมอักษรไทยมา 14 ตัว เพราะว่าเสียงของภาษายัฮกรุ มีเท่านั้น แต่นักภาษาศาสตร์เป็นตัวกำหนดเสียงตรงตามที่คนเท่าคนแก่พูดกัน แล้วเทียบเสียงได้ 14 เสียง จากนั้นได้ทำแบบฝึกหัด ใช้กับเด็กพิเศษ สมัยก่อน เป็นญัฮกรุ ฟังครูพูดภาษาไทยนั่งมอง ฟังไม่เข้าใจว่าครูพูดอะไร เมื่อฟังไม่ออกก็จะแยกออกไปอยู่หลังห้อง เพราะฟังภาษาไทยไม่รู้เรื่อง เมื่อ 40 กว่าปีมาแล้ว ปัจจุบันได้ทำหนังสือภาษาญัฮกรุฝากไว้ให้เขาได้เรียนในโรงเรียน เช่น หนังสือนิทาน เป็นภาษาของตัวเองให้เด็กอ่าน ทางกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ให้เป็นยอดครูผู้มีอุดมการณ์ สำหรับในปัจจุบันนี้ เด็กจะไม่พูดภาษาญัฮกรุกันแล้ว” จะเห็นได้ว่า คุณครูศิริพร หมั่นงาน ยอดครูผู้มีอุดมการณ์ สามารถบริหารจัดการ ด้านการเรียนการสอน ให้เด็กญัฮกรุกับเด็กทั่วไปสามารถเรียนรวมกันและอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข