ครอบครัว "บรูซ วิลลิส"  ออกแถลงการณ์ประกาศ ยุติบทบาทนักแสดง หลังเจ้าตัวป่วยโรคอาเฟเซียหรือภาวะเสียการสื่อความ 

บรูซ วิลลิส

ครอบครัว "บรูซ วิลลิส"  ออกแถลงการณ์ประกาศ ยุติบทบาทนักแสดง หลังเจ้าตัวป่วยโรคอาเฟเซียหรือภาวะเสียการสื่อความ 





ad1


เมื่อวันที่ 30 มี.ค.65 ครอบครัวของ บรูซ วิลลิส นักแสดงฮอลลีวูด วัย 67 ปี ได้โพสต์ข้อความประกาศผ่านอินสตาแกรม ถึงประเด็นยุติบทบาทของนักแสดง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการป่วยโรคอะเฟเซีย (Aphasia) หรือภาวะสูญเสียการสื่อความ
.
โดยทางครอบครัวระบุว่า "ถึงแฟนๆ ที่สนับสนุนและรัก บรูซ วิลลิส ทุกคน พวกเราในฐานะครอบครัวของบรูซ ต้องแจ้งข่าวให้ทุกคนได้ทราบว่า บรูซกำลังเผชิญหน้ากับอยู่กับปัญหาทางด้านสุขภาพ โดยเพิ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีความบกพร่องทางสมอง ที่ส่งผลต่อการรับรู้และความสามารถในการสื่อสารของบรูซ
.
ด้วยเหตุนี้และด้วยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ถึงแก่เวลาที่บรูซจะก้าวออกจากอาชีพนักแสดงที่มีความหมายต่อเขาอย่างมาก
.
นี่เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับครอบครัวของเราเป็นอย่างมาก เรารู้สึกซาบซึ้งกับความรักและกำลังใจที่ทุกคนส่งมาให้ รวมทั้งแรงสนับสนุนของพวกคุณที่ดีเสมอมา เรากำลังจะก้าวผ่านสิ่งนี้ไปด้วยกันทั้งครอบครัว
.
และเราต้องการให้แฟนๆ ได้รับรู้และเป็นส่วนหนึ่งกับเหตุการณ์นี้ เพราะพวกคุณมีความหมายสำหรับบรูซ และพ่อก็มีความหมายกับพวกคุณเช่นเดียวกัน อย่างที่บรูซเคยพูดเสมอว่า "จงใช้ชีวิตให้คุ้มซะ" และตอนนี้เรากำลังวางแผนจะร่วมกันทำเช่นนั้นให้กับเขาในอนาคต"
.
ข้อความดังกล่าวเป็นแถลงการณ์ร่วมของสมาชิกครอบครัว ได้แก่ เอมมา เฮมมิง วิลลิส ภรรยาคนปัจจุบัน และนักแสดงชื่อดัง เดมี มัวร์ อดีตภรรยา พร้อมด้วยลูกๆ ทั้ง 5 คน ได้แก่ รูเมอร์ สกอต ทอลลูลาห์ เมเบิล และอีฟลีน
.
ประวัติ บรูซ วิลลิส  
.
บรูซ วิลลิส  เริ่มต้นอาชีพนักแสดงในช่วงปี 1980 จากการแสดงเป็นตัวประกอบในหนังเรื่อง The Verdict ก่อนจะโด่งดังจากหนังแอคชั่น Die Hard หรือ คนอึดตายยาก ภาคแรกในปี ค.ศ. 1988 ซึ่งเป็นหนังแฟรนไชส์ที่กลายเป็นภาพลักษณ์ติดตัวเขามาตลอด
.
บรูซ วิลลิส มีผลงานการแสดงมากว่า 4 ทศวรรษ และมีหนังทำเงินในเครดิตของเขาไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านเหรียญ เขาเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ 5 ครั้ง โดยชนะ 1 ครั้ง จากบทบาทในซีรีส์ Moonlighting และคว้ารางวัลเอมมี อวอร์ด 2 ครั้ง จากการได้รับเสนอชื่อ 3 ครั้ง แต่ยังไม่เคยมีโอกาสได้เข้าชิงรางวัลออสการ์
.
โรคอาเฟเซีย (Aphasia) หรือ ภาวะเสียการสื่อความ คืออะไร 
.
ภาวะสูญเสียการสื่อความ มักมีสาเหตุจากความเสียหายในสมองซีกซ้าย ทำให้นึกภาษาหรือคำพูดได้ลำบาก กระทบต่อการ อ่าน, ฟัง, พูด, พิมพ์ หรือเขียน ของผู้ป่วย โดยอาการที่พบได้บ่อยที่สุดคือ ปัญหาทางการพูด รวมถึงการประสมคำไม่ถูกต้อง
.
ส่วนมากแล้วภาวะเสียการสื่อภาษา (Aphasia) มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดในสมองแตกมากที่สุด ส่วนภาวะเสียการสื่อภาษา (Aphasia) แบบชั่วคราวมักมีสาเหตุมาจากอาการไมเกรน อาการชัก หรือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ซึ่งเป็นภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการเส้นเลือดในสมองแตกหรือโรคหลอดเลือดสมองได้ในอนาคต