“หมอเปรม”จี้ถาม รมว.สาธารณสุข ร่างพ.ร.บ.แยกตัว ก.สธ.ออกจาก ก.พ.ดำเนินการไปถึงไหน

“หมอเปรม”จี้ถาม รมว.สาธารณสุข ร่างพ.ร.บ.แยกตัว ก.สธ.ออกจาก ก.พ.ดำเนินการไปถึงไหน





Image
ad1

“หมอเปรม” จี้ถาม รมว.สาธารณสุข ร่างพ.ร.บ.แยกตัว ก.สธ.ออกจาก ก.พ.ดำเนินการไปถึงไหนหวั่นเจอแรงต้านจากพรรคร่วมรัฐบาลไม่อยากให้ผ่านเกรงเพื่อไทยได้หน้าเหมือนแก้รัฐธรรมนูญที่ถอยแทบไม่ทัน “สมศักดิ์” ยันไม่มีแรงต้าน เพราะประชาชนได้ประโยชน์

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 ในการประชุมวุฒิสภา ซึ่งมีนายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ได้ตั้งกระทู้ถามนายสมศักดิ์ เทพสุทิส รมว.สาธารณสุข ความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการสาธารณสุข พ.ศ...ว่า ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรในสายวิชาชีพ เนื่องมาจากการลาออก การกระจายบุคลากรไม่เหมาะสม และหน่วยบริการมีกรอบอัตราตําแหน่งไม่เพียงพอ ประกอบกับการบรรจุข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขมีปัญหาหลายประการ เช่น จํานวนตําแหน่งข้าราชการที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการรองรับบุคลากรที่จบใหม่ กระบวนการบรรจุที่ซับซ้อน ล่าซ้าและความไม่ยืดหยุ่นของระบบการบรรจุข้าราชการ

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่จะแยกการบริหารจัดการบุคลากรของกระทรวงออกจากสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) โดยจัดทํา ร่างพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการสาธารณสุข พ.ศ..... มีสาระสําคัญว่า ด้วยการกําหนดให้มีคณะกรรมการข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข หรือ "ก.สธ." มีอํานาจหน้าที่ เช่น บรรจุ แต่งตั้งโอนย้ายข้าราชการสาธารณสุข กําหนดตําแหน่ง จํานวนตําแหน่ง กรอบอัตรากําลัง อัตราเงินเดือน เงินประจําตำแหน่ง ออกกฎ ข้อบังคับ ระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล และการจัดสวัสดิการหรือประโยชน์สําหรับข้าราชการ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ความก้าวหน้า ความเหลื่อมล้าของวิชาชีพระบบค่าตอบแทน สวัสดิการ และเพื่อยกระดับกฎเกณฑ์การบริหารงานบุคคลให้เหมาะสม

นพ.เปรมศักดิ์ กล่าวว่า ขอถามนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุขว่า 1.ปัจจุบันร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนไหน และคาคว่าจะมีผลบังคัปใช้เมื่อใด 2. นโยบายแยกการบริหารจัดการบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขออกจาก ก.พ. ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและประชาชนอย่างไร 3.กระทรวงสาธารณสุขได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และประชาชนต่อร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ผลเป็นอย่างไร

อย่างไรก็ตาม การที่นายสมศักดิ์ผลักดันเรื่องนี้ถือเป็นแรงส่งที่ดี แต่ที่ตนวิตกกังวลคือแรงต้าน เพราะเดี๋ยวนี้ เรามีกอหลาย ก ที่แยกไปก่อนแล้วเช่น ก.ค. ข้าราชการครู กห. ของกระทรวงกลาโหม หรือก.ตร.ของตำรวจ แม้กระทั่งของรัฐสภาก็มีก.ร.ต่างหาก เมื่อก.พ .ต้องเปิดทางให้ก.สธ.เกิดขึ้นเพื่อให้ข้าราชการของกระทรวงสาธารณสุขแยกออกไป อยาก ถามรมว.สาธารณสุข ใน ก.พ.มีแรงต้านหรือไม่และแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าเอาก.สธ.ออกไป ก.พ.จะเหลือจำนวนคนไม่ถึงครึ่ง ตรงนี้มีแรงต้านหรือไม่ รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลผสมมีพรรคการเมืองหลายพรรคมาเป็นรัฐบาล ปัญหาหลายครั้งคือความขัดแย้ง เกรงว่าพรรคใดพรรคหนึ่งจะมีผลงาน ได้แต้มทางการเมืองสูงกว่า ทำให้มีแรงต้าน เหมือน เรื่องรัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านไป พรรคเพื่อไทยเสนอไปแล้วยังใส่เกียร์ถอย แทบไม่ทัน

“ผมอยากถาม ว่า ระหว่างที่นายสมศักดิ์ขับเคลื่อนเรื่องนี้ไปข้างหน้า มีคนถ่วง มีคนเตะตัดขาทำให้เรื่องนี้ไม่สำเร็จหรือไม่ ที่บอกว่าจะให้เสร็จภายใน 2 ปีผมเอาใจช่วย เพราะรัฐบาลนี้ยังเหลืออีก 3 ปี เวลายังมีเพียงพอทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ ผมเอาจะช่วยนายสมศักดิ์ให้ทำเรื่องนี้ให้สำเร็จเพื่อเป็นขวัญตาให้พี่น้องชาวกระทรวงสาธารณสุขทั้งที่เกษียณแล้วและที่ยังทำงานอยู่ในปัจจุบัน จะได้มีขวัญกำลังใจ อย่างไรก็ตามผมจะรอกฎหมายนี้อยู่ที่วุฒิสภา”นพ.เปรมศักดิ์กล่าว

ด้านนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ชี้แจงว่า ถ้ากม.ฉบับนี้ผ่านประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างมากแก้ปัญหากำลังคน ภาระงาน การกระจายบุคลากร และแก้ปัญหาสมองไหลให้อำนาจกระทรวงสาธารณสุขบริหารจัดการตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการทำประชามติส่วนใหญ่เกินร้อยละ 90 คนในกระทรวงสาธารณสุขเห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมาการจะทำอะไรจะต้องมีฝ่ายตรงข้ามที่อาจจะเสียคะแนนเสียง เลยขัดแย้ง แต่ในเรื่อง ก.สธ.นี้ความขัดแย้งน้อยมาก ในช่วงแรกๆ อาจจะมีอยู่ แต่ตอนนี้มีน้อย ไม่ต้องกังวล ก.พ. สำนักงบประมาณ หรือกรมบัญชีกลางเพราะเวลาร่างกฎหมายได้เชิญหน่วยงานเหล่านี้เข้ามาเป็นกรรมการปรับแก้ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขต้องการ ดำเนินการให้สอดคล้องกัน และในช่วงการเขียนกฎหมาย สามารถปรับแก้ได้ในชั้นกรรมาธิการในสภาฯ ได้ยิ่งมีคนติดตามดูมาก ก็จะทำให้กฎหมายสมบูรณ์ ยืนยันว่า ขณะนี้ไม่มีใครต้าน