ศรีสะเกษชูอัตลักษณ์นุ่งผ้าไทยใส่บาตรทำความดี วิถีพอเพียงทุกเช้าวันพุธ

ศรีสะเกษชูอัตลักษณ์นุ่งผ้าไทยใส่บาตรทำความดี วิถีพอเพียงทุกเช้าวันพุธ





Image
ad1

จังหวัดศรีสะเกษน้อมนำพระราชดำริและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชูอัตลักษณ์นุ่งผ้าไทยใส่บาตรทำความดี วิถีพอเพียงทุกเช้าวันพุธ

อนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

วานนี้ (14ส.ค.67) ที่บริเวณลานโคปุระ เกาะห้วยน้ำคำ อำเภอเมืองศรีสะเกษ นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมรองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนข้าราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการ ตลอดจนภาคีเครือข่ายภาคธุรกิจเอกชน และประชาชน ได้พร้อมใจร่วมนุ่งผ้าไทยโทนสีฟ้าใส่บาตรอย่างพร้อมเพรียง เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ และ ต่างน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ ที่องค์แม่หลวงของแผ่นดินทรงห่วงใยปวงประชาราษฎรในทุกภูมิภาค

ประยูร เดชหาญ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลผือใหญ่

 

โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย พระองค์จึงทรงริเริ่มโครงการให้ราษฎรโดยเฉพาะชาวนาในท้องถิ่นชนบททำอาชีพเสริม โดยใช้เวลาว่างเว้นจากการทำนาทำไร่มาทำงานศิลปาชีพ จนราษฎรเหล่านั้นต่างมีความรู้ความสามารถในงานผลิตงานศิลปหัตถกรรม เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศไทยและระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงโปรดผ้าทอพื้นเมืองมาโดยตลอด ทรงสนพระราชหฤทัยและเล็งเห็นคุณค่าความงดงามอันมีเอกลักษณ์ของผ้าทอในท้องถิ่นไทย

ทรงสังเกตว่าผู้หญิงชาวบ้านที่ต่างมาเฝ้ารับเสด็จในโอกาสที่ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จไปเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ล้วนแต่งกายด้วยผ้าทอพื้นเมืองที่มีสีสันสวยงาม ทุกคนนุ่งซิ่นไหมมัดหมี่ ซึ่งมีความสวยงามในลวดลายต่างๆกัน ทรงทอดพระเนตรด้วยความสนพระราชหฤทัยยิ่ง จึงมีพระราชดำริว่า ควรจะส่งเสริมให้ราษฎรทอผ้าไหมมัดหมี่ไว้เป็นอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว นอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรรม


จังหวัดศรีสะเกษ จึงได้น้อมนำพระราชดำริและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนทั้งระดับจังหวัด ระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้นุ่งผ้าไทยใส่บาตรทำความดี วิถีพอเพียงทุกเช้าวันพุธ เพื่อยกระดับผ้าไทย หรือ ผ้าพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเสื้อแซ่ว และ ผ้าเบญจศรี ซึ่งเป็นวาระจังหวัดให้ชน 4 เผ่าของจังหวัดศรีสะเกษทั้ง 22 อำเภอ ได้มีงานทำมีรายได้และเกิดการกระจายรายได้ลงไปสู่ระดับฐานรากอย่างทั่วถึงกัน

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน