ชาวสวนพัทลุงยิ้มแก้มปริมมังคุดราคาพุ่งกก.ละ40บาทเหตุปีนี้ออกผลน้อย

ชาวสวนพัทลุงยิ้มแก้มปริมมังคุดราคาพุ่งกก.ละ40บาทเหตุปีนี้ออกผลน้อย





Image
ad1

“มังคุด” โค้งแรกพัทลุง ราคา 40 บาท / กก.เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ราคา 20 บาท และ 10 บาท / กก. เหตุผลผลิตปริมาณน้อยมาก

น.ส.รอฮะห์ จิตนารี เจ้าของสวนมังคุดรายย่อยบ้านควนอินนอโม หมู่ 7 เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่าประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา มังคุดรุ่นแรกเริ่มเก็บเกี่ยว โดยราคาเปิดโค้งแรกในพื้นที่ราคาประมาณ 40 บาท / กก. ซึ่งผู้รับซื้อจะมารับถึงหน้าสวน โดยราคาเมื่อเทียบกับปีที่แล้วราคาในฤดูกาล 2566 เปิดรับโค้งแรกราคาจะสูงขึ้นประมาณ 1 เท่าตัว

สาเหตุราคาที่สูงเนื่องจากตลาดมีความต้องการ แต่ผลผลิตออกมาปริมาณน้อยมาก  โดยเฉพาะในสวนมังคุดของตนในฤดูกาลนี้โดยุร่นแรกไม่ให้ผลผลิต  มีบางต้นเป็นเพียงประมาณครึ่งเดียว แต่ภายหลังดอกร่วงหล่นหมด เพราะเกิดแล้งร้อนจัด อีกทั้งปลูกมังคุดไม่ได้มีการบำรุงดูแลปุ๋ย และไม่มีการตกแต่งกิ้งก้าน

นายกำแพง แก้วสุวรรณ์  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ในฤดูกาลมังคุดปี 2567 จ.พัทลุง จะมีผลผลิตออกมาประมาณ 3 รุ่น โดยรุ่นแรกแรกออกมาแล้วตั้งประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2567  โดยมีราคาแต่ละพื้นที่จะต่างกัน เช่น อ.ป่าพะยอม ประมาณ 50 บาท / กก. และ อ.ตะโหมด ประมาณ 40 บาท / กก. 

โดยมังคุดรุ่นที่ 2 ประมาณเดือนตุลาคม 2567 และรุ่นที่ 3 ก็จะออกผลิตถัดไป และราคาจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางยังไม่สามารถมาณการได้ว่าจะเคลื่อนไหวที่ 50 บาท และ 40 บาท / กก.หรือไม่ 

“ปัจจัยที่ราคามังคุดได้ราคาที่ดี เนื่องจากผลผลิตออกมาสู่ตลาดในปริมาณที่น้อยมาก เหลือประมาณ 50 % จากผลผลิตภาพรวมเมื่อปี 2566 ประมาณกว่า 5,000 ตัน แต่มาในฤดูกาลปี 2567 ผลผลิตประมาณกว่าประมาณ 2,600 ตัน”

นายกำแพง กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่มังคุดให้ผลผลิตปริมาณที่ลดลงจากสาเหตุสภาพภูมิอากาศที่ผันแปร เช่น 1. อากาศร้อนจัดภัยแล้ง และ 2.ฝนตกลงมาหลายครั้งแตกยอด ฯลฯ.

นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จ.สงขลา เปิดเผยว่า  รายงานจากศูนย์ปฎิบัติการเฉพาะกิจผลไม้ปี 2567 ได้รายงานสถานการณ์ผลไม้ โดยเฉพาะในส่วนของมังคุดในจังหวัดภาคใต้นั้น โดยมีผลการผลิตประมาณ 161,022 ตัน  จากที่มีเนื้อที่ยืนต้นประมาณ 233,799 ไร่  โดยมีเนื้อที่ที่ให้ผลผลิตประมาณ  226,931 ไร่

ทั้งนี้จากผลการประชุมของคณะทำงานเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ภาคใต้ ครั้งที่ 1/2567  เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567  และมาในวันที่มีการประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2567  โดยได้สรุปผลจากการทบทวนข้อมูลที่ผ่านมา.

โดย...อัสวิน  ภักฆวรรณ ผู้สื่อข่าวจังหวัดพัทลุง