ต้นทุนพุ่ง-ไม่คุ้มลงทุน!“ธุรกิจหมู”เผชิญวิกฤติหนักคาดไม่ถึงสิ้นปีเกษตรกรเลิกเลี้ยงสุกรทั้งระบบ

ต้นทุนพุ่ง-ไม่คุ้มลงทุน!“ธุรกิจหมู”เผชิญวิกฤติหนักคาดไม่ถึงสิ้นปีเกษตรกรเลิกเลี้ยงสุกรทั้งระบบ





ad1

พัทลุง-ราคาหมูภาคใต้ลดฮวบต่อเนื่อง เจ้าของฟาร์มโอด “ธุรกิจหมู” ชะตาขาดไม่ถึงสิ้นปี คาดเกษตรกรผู้เลี้ยงปิดตัวแทบยกแถบจากสาเหตุการขาดทุนยับหลักร้อยตัวเพดานหลัก 2 แสนบาท  รายหลักพันตัว เพดานขึ้น 2 ล้านบาทถึง 5 ล้านบาทขึ้น  ขาดทุนวันละ 150 ล้านบาท เดือนละเกือบ 4,000 ล้านบาท แถมยังแบกภาระค่าอาหารที่เพิ่มสูง ทำให้เข็นธุรกิจไปต่อไม่ไหวต้องเลิกเลี้ยงสุกร

นายภักดี ชูขาว กรรมการสมาคมผู้เลี้ยงการค้าสุกรภาคใต้ และเจ้าของภักดีฟาร์ม อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า สถาการณ์การเลี้ยงการค้าสุกรสำหรับเกษตรกรค่อนข้างจะวิกฤติหนักมาก สำหรับตนประอาชีพเลี้ยงสุกรมาประมาณ 50 ปี ที่ถือว่าปี 2566 ที่หนักสุดในรอบ 50 ปี

โดยขณะนี้ต่างประสบภาวะขาดทุนทุกรายตั้งแต่รายย่อย รายเล็ก รายใหญ่ โดยหลักร้อยตัวในวงเงินเกินกว่า 200,000 บาท หลักพันตัววงเกิ 2  ล้านบาท และบางรายขาดทุนถึง 5 ล้านบาทบาทแล้ว ตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นมาจนถึงขณะนี้ โดยระยะแรกกระทบกับกับหมูกล่องนำเข้าจากต่างประเทศที่เข้ามาจำหน่ายภายในประเทศ ได้ส่งผลกระทบให้ราคาสุกรตกต่ำ ในขณะที่วัตถุดิบอาหารหมู ตั้งแต่ข้าวโพด กากถั่ว รำข้าว ปลายข้าว ที่ราคายังอยู่ จากปัจจัยกากถั่ว ข้าวโพด ที่ต้องนำข้าวจากต่างประเทศ ส่วนปลายข้าว รำข้าว สาเหตุจากการล้มเลิกการทำนาข้าวหันมาปลูกปาล์มน้ำมันทางภาคใต้ ส่งผลกระทบที่นาข้าวหายไป จนต้องนำปลายข้าว รำข้าวจากจากส่วนกลาง ฯลฯ

นายภักดดี  ยังกล่าวอีกว่า แล้วยังมีกผลระทบจากภายในพื้นที่ภาคใต้ ที่ดั้มราคาสุกรลงมากบางวันพระถึงประมาณ 5 บาท / กก. จากผู้ประกอบการฟาร์มสุกรายใหญ่ จนส่งผลกระทบตต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร โบรกเกอร์ค้าสุกร เขียงเนื้อหมูไปทั่วภาคใต้   โดยผู้เลี้ยงสุกรต่างวิตกต่างแห่เทขายส่งผลให้มีต่อการขาดทุนกันมาก 

โดยขณะนี้ราคาสุกรขายกันหน้าฟาร์มราคากว่า 60 บาท / กก. ในขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 90 บาท / กก.ในขณะนี้ และยังมีแนวโน้มว่าจะมีการแข่งขันกันดั้มราคาเพื่อสุกรออกขาย เพราะเลี้ยงค้างสต๊อกจะแบกภาระขาดทุนสะสมค่าอาหาร บางรายที่มีสุกรระดับ 3,000 ตัว ค่าอาหารประมาณวันละ 200,000 บาท จะไม่ไหว

“น่าจะได้เห็นราคาสุกร 50 กว่าบาท / กก. ในอนาคต และจะเห็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรต้องล้มลงจนแทบหมดในปี 2566” นายภักดี กล่าวกล่าวและว่า

สำหรับภาพของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทางฝ่ายการเมือง โดยพรรคก้าวไกล ให้ความสนใจได้ติดต่อประสานมาว่าจะมารับฟังปัญหาในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้มาเพราะติดภารกิจสำคัญในการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ทางผู้เลี้ยงสุกร จึงมีแนวทางทำหนังหนังสือยื่นถึงพรรคก้าวไกลในเร็ว ๆ นี้ ถึงประเด็นสำคัญ คือให้ผู้เลี้ยงรายขนาดใหญ่ชะลอการเลี้ยงเพิ่มเติม ชะละกสรขยายเพิ่มเติม เพราะจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรกผู้เลี้ยงรายย่อย รายเล็ก รายขนาดกลาง และรายขนาดใหญ่ โดยจะต้องมีพื้นที่ให้กับกษตรกรกรในการประกอบอาชีพ

นายปรีชา กิจถาวร  นายกสมาคมการค้าเลี้ยงสุกภาคใต้ เปิดเผยว่า สถานการณ์การเลี้ยงสุกรภาคใต้เกิดได้ภาวะโลว์ก่อนฤดูกาลถึง 5-6 เดือน  ตามปกติจะเข้าโลว์ประมาณเดือนกันยน - พฤศจิกายน  ทั้งนี้สาเหตุมาจากต้นเหตุคือสุกรล้นตลาด โดยต้นเหตุมาจากมีการนำเข้าหมูกล่องจากประเทศส่งผลให้ราคาตกต่ำ  พร้อมกับการขยายการเลี้ยงสุกรเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะรายขนาดใหญ่ และรวมถึงสุกรบริษัทมหาชน มีถึง 18 ฟาร์มขนาดใหญ่ครบวงจร โดยขณะนี้มีมาร์เก็ตแชร์ตลาดไปประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์  เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์เป็นของเกษตรกร

“เกษตรกรรายย่อยขนาดประมาณ 500 ตัว และระยะกลาง ประมาณ 1,000 ตัว” 

นายปรีชา กล่าวอีกว่า ขณะนี้การตลาดสุกรราคาทยอยลงมาอยู่ที่เฉลี่ยทั่วประเทศ ประมาณ 60 บาท / กก.  จากต้นทุนการผลิตประมาณ 90 บาท จะขาดทุนประมาณ 3,000 บาท / ตัว โดยมีการเชือดสุกประมาณ 50,000 ตัว / วัน  จะขาดทุนประมาณ 150 ล้านบาท / วัน เชือดประมาณ 26 วัน เดือนจะขาดกทุนประมาณ 3,900 ล้านบาท / เดือน 

“โดยขาดทุนที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ประมาณ 5-6 เดือน มาจนถึงขณะนี้ และประมาณว่าในเร็ว ๆ นี้จะยุติการเลี้ยงไปเป็นแทยจะหมด แต่จะเหลือ คือผู้ที่จะเลี้ยงพึงชะลอการเลี้ยงจาก 100 ตัว เหลือมาเลี้ยงอยู่ที่ 30-40 ตัว ส่วนรายย่อย ๆ ไม่น่าจะมีปัญหา ทั้งนี้เมื่อขายหมดชุดนี้หลังสุด น่าจะยุติการเลี้ยงไปชั่วคราว แล้วค่อยหันมาเลี้ยงกันใหม่ เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น”
นายปรีชา  กล่าวอีกว่า ส่วนผู้เลี้ยงสุกรในระบบเกษตรพันธสัญญากับบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทมหาขน ไม่น่าจะเกิดความเสี่ยงนัก เพราะการเลี้ยงเกษตรกรพันธสัญญามีหลายรูปแบบทั้งเลี้ยงจ้าง เลี้ยงประกันราคา เลี้ยงประกันการตลาด และที่ไม่มีความเสี่ยงคือเลี้ยงจ้าง

นายปรีชา ยังกล่าวอีกว่า  การเลี้ยงสุกร จะต้องมีการปฎิรูปครั้งใหญ่ ซึ่งทางฝ่ายการพรรคก้าวไกลให้ความสนใจและมีการพูดคุยกันมาแล้ว และในการจัดตั้งรัฐบาลพรรคพันธมิตร 8 พรรค ต่างมีความเข้าใจกลไกการเลี้ยงการตลาดการเลี้ยงสุกร และทราบข่าวว่าผู้ที่จะมาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความเข้าใจเรื่องปศุสัตว์ที่ดีด้วย เชื่อว่าจะทราบกลกลไกดี อยู่ที่ว่าจะทำหรือไม่ทำ

“แต่ที่ผ่านมาพรรคก้าวไกล ได้เข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือเรื่องสุกรได้มาก เช่น เรื่องการสกัดนำเข้าหมูกล่องจากต่างประเทศ และขณะเดียวกันทาง DSI เข้ารับทำคดีหมูกล่องเป็นคดีพิเศษแล้ว และก็เช่นกันทางกรมปศุสัตว์ ได้มีนโยบายห้ามมีการนำเข้าเครื่องในสุกรและชิ้นส่วนสุกรจากต่างประเทศแล้ว”.

โดย...อัสวิน  ภักฆวรรณ