เปิดรายละเอียดยิบวันประชุม "ส.ส.-ส.ว."ทำ”พิธา”ไปไม่ถึงฝันตกเก้าอี้นายกรัฐมนตรี

เปิดรายละเอียดยิบวันประชุม "ส.ส.-ส.ว."ทำ”พิธา”ไปไม่ถึงฝันตกเก้าอี้นายกรัฐมนตรี





ad1

เมื่อวันที่ 13 ก.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงาน ผลการโหวตลงคะแนนเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกล ภายหลังการลงมติจากขานคะแนนโดยเปิดเผยเสร็จสิ้น ผลลงคะแนน ปรากฏว่า นายพิธาได้คะแนนเห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง งดออกเสียง 199 เสียง ซึ่งคะแนนเห็นชอบไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ถือว่า มติที่ประชุมไม่เห็นชอบแต่งตั้งนายพิธาเป็นนายกฯตามรัฐธรรมนูญ มาตรา272 วรรค 1

สำหรับ ส.ว.ที่ลงคะแนนเห็นชอบให้นายพิธาเป็นนายกฯมี 13 คน ประกอบด้วย 1.นายไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ 2.พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา 3.นายเฉลา พวงมาลัย 4.นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล 5.พล.ต.ท.ณัฏฐวัฒน์ รอดบางยาง 6.นายพิศาล มาณวพัฒน์ 7.นายพีระศักดิ์ พอจิต 8.นายมณเฑียร บุญตัน 9.นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์10.นายวันชัย สอนศิริ 11.นายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ 12.นพ.อำพล จินดาวัฒนะ 13.นางประภาศรี สุฉันทบุตร เกือบทั้งหมดเป็นไปตามข่าวก่อนหน้านี้ที่ประกาศว่า จะลงมติสนับสนุนนายพิธาเป็นนายกฯ

จากการตรวจสอบรายชื่อปรากฏว่า มีส.ว.บางส่วนที่เคยระบุจะลงคะแนนสนับสนุนนายพิธา แต่กลับไม่ปรากฏผลการลงคะแนนใดๆ อาทิ น.ส.ภัทรา วรามิตร นายประมาณ สว่างญาติ นายสถิต ลิ่มพงศ์พันธุ์ นางประยูร เหล่าสายเชื้อ นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ที่ไม่ยอมลงมติ ขณะที่ นายรณวริทธ์ ปริยฉัตรตระกูล นายทรงเดช เสมอคำ ที่เคยระบุจะลงมติสนับสนุนนายพิธา ก็ลงมติงดออกเสียง

นอกจากนั้นพบว่า มีส.ว.ลาการประชุมทั้งหมด 33 คน ทำให้เหลือจำนวนส.ว.ที่เข้าร่วมประชุม 216 คน แต่ปรากฏว่า ในการลงมติโหวตนายกฯ มีส.ว.ที่ขานชื่อลงมติเพียง 205 คนเท่านั้น แสดงว่า มีส.ว.อีก 11คน ที่ไม่ได้ลาประชุม แต่ไม่ยอมร่วมลงมติในการโหวตนายกฯครั้งนี้

ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลเดิม ส่วนใหญ่ลงมติไปในทางไม่เห็นชอบนายพิธาเป็นนายกฯ ได้แก่พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคพลังประชารัฐ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนากล้า ลงมติงดออกเสียง  ส่วนพรรคเล็กก็ลงมติแตกต่างกัน อาทิ พรรคใหม่ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน ลงมติงดออกเสียง พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคท้องที่ไทย ลงมติไม่เห็นชอบ จากการตรวจสอบรายชื่อมีส.ส.เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้  499 คน จากจำนวน 500 คน ขาดไป 1 คนคือ นายศักดิ์ ซารัมย์ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย เนื่องจากป่วยนอนอยู่โรงพยาบาล

สำหรับ ส.ว.ที่ไม่ได้อยู่ร่วมในการโหวตลงคะแนนเลือกนายกฯครั้งนี้ มีจำนวน 44 คน อาทิ ผู้บัญชาการเหล่าทัพทั้ง 6 คน ที่ลาประชุม น.ส.ภัทรา วรามิตร นายประมาณ สว่างญาติ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ นางประยูร เหล่าสายเชื้อ  นายดิเรกฤทธิ์ เจนคลองธรรม นางกอบกุล อาภากร ณ อยุธยา นายกิตติ วะสีนนท์ นายเจน นำชัยศิริ นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ

พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ พล.อ.เชวงศักดิ์ ทองสลวย พล.ร.อ.ฐนิธ กิตติอำพน พล.อ.ดนัย มีชูเวท น.ส.ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ พล.อ.นพดล อินทปัญญา พล.ต.ต.ปรัชญ์ชัย ใจชาญสุขกิจ พล.อ.ปัฐมพงศ์ ประถาภัฎ นายพิทักษ์ ไชยเจริญ พล.อ.ไพโรจน์ พานิชสมัย นายภาณุ อุทัยรัตน์ พล.อ.เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์