ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ เหนือฟ้า ต.วังดาล อ.กบินทร์บุรี พื้นที่ใกล้เคียงโรงหลอมเหล็กพบรังสีซีเซียม137

ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ เหนือฟ้า ต.วังดาล อ.กบินทร์บุรี พื้นที่ใกล้เคียงโรงหลอมเหล็กพบรังสีซีเซียม137





ad1

เมื่อเวลา 20.30 น.วันนี้ 24 มี.ค.66 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่าตามที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้แจ้งว่าวันนี้ 24 มีนาคม 2566  มีปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ “ดวงจันทร์บังดาวศุกร์” ทั่วประเทศไทย   ช่วงเวลาประมาณ 18:37 - 19:45 น. (ตามเวลากรุงเทพมหานคร) หากมองจากโลก บนท้องฟ้าทางทิศตะวันตก ในเวลาประมาณ 18:37 น. พบดวงจันทร์จะค่อย ๆ เคลื่อนที่ไปบังดาวศุกร์ และ  จะเคลื่อนที่ออกจากดาวศุกร์เวลาประมาณ 19:45 น. โดยประมาณ    นับเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักในไทย 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า    ที่บนถนนสายสุวินทวงศ์ (กบินทร์บุรี – นาดี ) หรือ ถนนสาย 304 บ้านหนองคล้า ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี  แยกเข้า ต.หาดนางแก้วพื้นที่ต่อเนื่องกันกับโรงหลอมเหล็กที่พบรังสีกัมมันรังสี   ห้างกันกว่า 5 กม.   ในช่วงหัวค่ำวันนี้ ( 24 มีนาคม 2566 )  พบ เกิดปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์    เริ่มสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำทางทิศตะวันตก วัตถุทั้งสองอยู่เคียงกันสูงจากขอบฟ้าประมาณ 32 องศา ในช่วงเวลาประมาณ 18:37 น. พบดวงจันทร์จะค่อย ๆ เคลื่อนที่ไปบังดาวศุกร์ และ    เคลื่อนที่ออกจากดาวศุกร์ ในเวลาประมาณ 19:45 น. โดยขณะนั้น ดวงจันทร์อยู่สูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตกประมาณ 16 องศา

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่าการบังกันของวัตถุท้องฟ้า (Occultations) เป็นปรากฏการณ์ที่วัตถุท้องฟ้าหนึ่งเคลื่อนที่ผ่านหน้ามาบังอีกวัตถุหนึ่งเมื่อสังเกตจากแนวสายตา เช่น ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์   ดวงจันทร์บังดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์บังดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์บังกันเอง ฯลฯ สามารถใช้ปรากฏการณ์ดังกล่าวคำนวณหาขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวัตถุ คำนวณหาระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ตรวจหาและศึกษาโครงสร้างของชั้นบรรยากาศ รวมถึงการใช้ตรวจหาวงแหวนของดาวเคราะห์ชั้นนอกได้อีกด้วย เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์สำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อวงการวิจัยดาราศาสตร์ ทั้งยังเป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่หาชมยาก เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่ชมความสวยงามด้วยตาเปล่า หากชมผ่านกล้องโทรทรรศน์จะสังเกตเห็นดาวศุกร์ค่อย ๆ ลับหายไปหลังดวงจันทร์ และโผล่พ้นออกมาทั้งดวงได้อย่างชัดเจน

และกล่าวต่อไปว่า   สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยภาพ “ดวงจันทร์บังดาวศุกร์” บันทึกผ่านกล้องโทรทรรศน์ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ.เชียงใหม่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา หัวค่ำ 24 มีนาคม 2566  ปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ ช่วงหัวค่ำวันที่ 24 มีนาคม 2566 เกิดขึ้นในเวลาประมาณ 18:37 - 19:45 น. (เวลา ณ กรุงเทพมหานคร หากสังเกตการณ์ในพื้นที่อื่นช่วงเวลาของการบังจะเริ่มและสิ้นสุดไม่พร้อมกัน) สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันตก ช่วงเริ่มต้นปรากฏการณ์ ดวงจันทร์เสี้ยวข้างขึ้น 3 ค่ำค่อย ๆ เคลื่อนที่ไปบังดาวศุกร์ จนดาวศุกร์หายลับไป กินเวลานานประมาณ 1 ชั่วโมง 8 นาที จากนั้นจึงกลับมาปรากฏสุกสว่างอีกครั้ง และด้วยในคืนดังกล่าวตรงกับดวงจันทร์ขึ้น 3 ค่ำ พื้นที่ที่ทัศนวิสัยท้องฟ้าดียังสามารถชมปรากฏการณ์แสงโลก (Earthshine) ได้อีกด้วย

การเฝ้าชมปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ในครั้งนี้ จุดสังเกตการณ์หลักของ สดร. ทั้ง 4 แห่งที่ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หอดูาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา ฟ้าใสเป็นใจ เห็นความสวยงามขณะ “ดวงจันทร์บังดาวศุกร์” ตลอดทั้งปรากฏการณ์ ทั้งขาเข้า และขาออกได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกันชาวไทยทั่วประเทศต่างก็ให้ความสนใจติดตามชม และโพสต์ภาพความสวยงามของปรากฏการณ์ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์กันอย่างคึกคัก นอกจากนี้ สดร. ยังจัดถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านทางเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติด้วย มีประชาชนติดตามชมกันเป็นจำนวนมากเช่นกัน

“ดวงจันทร์บังดาวศุกร์” เป็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ที่หาชมยาก เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และนานทีจะสังเกตการณ์ได้ในประเทศไทย ครั้งต่อไปที่สามารถสังเกตได้ในไทย อีก 3 ปีข้างหน้า ในวันที่ 14 กันยายน 2569

โดย...มานิตย์ สนับบุญ