"สื่อ Wartani" โวยจนท.คุกคามหนักทั้งออกหมายเรียก-บุกตรวจค้นบ้านปมช่วยเหลือครอบครัวเหยื่อปะทะเดือดเหตุไฟใต้

"สื่อ Wartani" โวยจนท.คุกคามหนักทั้งออกหมายเรียก-บุกตรวจค้นบ้านปมช่วยเหลือครอบครัวเหยื่อปะทะเดือดเหตุไฟใต้





ad1

วันนี้(15มีนาคม66)ผู้สื่อข่าวรายงานว่านับตั้งแต่มีการพูดคุยสันติภาพปาตานีระลอกใหม่ของปี2566 แม้จะมีข้อตกลงร่วมอย่าง JCPP แต่ในขณะเดียวกัน ในพื้นที่เองสถานการณ์ยังคงตรึงเครียด นอกจากการดำเนินคดีทางการเมืองที่ไม่มีการลดลง สถานการณ์การใช้อำนาจนอกกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างการเข้าติดตามคุกคามประชาชนและนักกิจกรรมถึงที่พักอาศัย หรือการเรียกตัวไปพูดคุย ทั้งไม่มีหมายเรียกหรือมีก็ตาม ยังคงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนแทบจะถูกทำให้กลายเป็นเรื่อง “ปกติ” ที่ไม่มีใครตรวจสอบอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการอย่างจริงจัง.

ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐลักษณะนี้ เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การนำกำลังทหารบุกเข้าไปยังบ้านของประชาชน หรือการเข้าควบคุมตัวไป “ปรับทัศนคติ” ในค่ายทหาร เป็นปฏิบัติการหนึ่งที่คณะรัฐประหารใช้ในการควบคุมการแสดงออกทางการเมือง แม้หลังการเลือกตั้งปี 2562 ไปแล้ว ปฏิบัติการดังกล่าวก็ยังคงอยู่ แต่เปลี่ยนไปใช้ฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ แทนทหาร.
สถิติของต้นเดือนมีนาคมพุ่งสูงหลายกรณีที่ถูกติดตาม อาทิเช่น,

@@กรณีเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 66 พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ จาก DSI เข้าตรวจค้นบ้าน นาย ซาฮารี เจ๊ะหลง Content Editor ของ The Motive โดยแสดงหมายค้นศาลจังหวัดปัตตานี เพื่อขอเข้าตรวจค้น ระหว่างการตรวจค้น มีจนท.ชุดทหารพรานเข้าร่วมการตรวจค้น และตรึงกำลังเฝ้าอยู่ระหว่างทางเข้าบ้านซาฮารี.

หลังจากการตรวจค้น จนท.ดีเอสไอ ได้ยึดคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 1 เครื่อง และแบบพกพา 1 เครื่อง และนัดหมายให้ นาย ซาฮารีไปเปิดเครื่องดูข้อมูลที่สำนักงาน ดีเอสไอ จังหวัดปัตตานีในวันถัดมาสืบเนื่องกรณีการระดมทุนช่วยเหลือครอบครัว ที่เสียชีวิตจากเหตุปะทะ ที่ใช้นามว่า "ชมรมพ่อบ้านใจกล้า" ทางเจ้าหน้าที่สอบสวนได้เรียกชาวบ้านที่โอนเงินบริจาคเข้าบัญชีพ่อบ้านใจกล้า มาให้ข้อมูล แต่สำหรับหลักการเบื้องต้นของการระดมทุนในนามพ่อบ้านใจกล้า ซาฮารี ยืนยันว่าเป็นการระดมทุนช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตจากการปะทะจะถูกมองว่าเป็นฝ่ายผิด และไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ทำให้ต้องมีฅนเข้าไปให้ความช่วยเหลือ และเยียวยาครอบครัว แต่กลับถูกมองว่ากระทำการช่วยเหลือดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผิด

ล่าสุดนายซาฮารี เจ๊ะหลง  บรรณาธิการคอนเทนต์ The Motive ได้โพสต์เมื่อวันที่14มันาคม66ว่า “ทางดีเอสไอ เรียกสอบปากคำผม ในฐานะพยาน และได้คืนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องแล้วนะครับ” ส่วนความคืบหน้าเรื่องคดีความเกี่ยวกับชมรมพ่อบ้านใจกล้า และ ประเด็นความมั่นคงปาตานี/ชายแดนใต้ ก็คงต้องเกาะติด ตามต่อครับ #ขอบคุณมิตรสหายที่ไปเป็นเพื่อน #และขอบคุณมิตรสหายที่คอยให้กำลังใจกันครับ

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่าเคสก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 66ที่ผ่านมาว่า  เจ้าหน้าที่ออกหมายเรียก บรรณาธิการภาคสนามและนักข่าวภาคสนามของสำนักสื่อ Wartani และญาติๆของผู้เสียชีวิตโดยให้เหตุว่า “ ร่วมกันข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติอันไม่ชอบด้วยหน้าที่หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่และขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ” กรณีการวิสามัญกองกำลัง BRN ที่ อ.ธารโต จ.ยะลา จนเกิดประเด็นการเคลื่อนย้ายศพโดยรถกู้ภัย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สำหรับเคสนี้ ตามนัดในหมายให้ไปพบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรธารโต ในวันที่ 15 มีนาคม 2566 เพื่อรับฟังตามหมาย และอีกเคส ได้มีเจ้าหน้าที่ออกหมายเรียกพยานนายอาร์ฟาน วัฒนะ และ ญาติๆของนายยะห์รี ดือเลาะร่วม 7 คน โดยอ้างว่าพวกเขาปรากฎในคลิปที่มีการขัดขวางการขุดศพชายนิรนามของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.สุไหงปาดี นัดมาพบเจ้าที่ในวันที่12 มีนาคม2566 แต่ทางนายอัรฟารขอเลือนเป็นวันที่ 16 มีนาคม 2566 ณ สภ.สุไหงปาดี .

คาดว่าเคสดังกล่าวเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น จากจำนวนผู้ถูกปฏิบัติการในลักษณะนี้ ซึ่งคาดว่ายังมีหลายราย และยังต้องจับตาสถานการณ์การคุกคามในลักษณะนี้ และการดำเนินการของฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐที่อาจเกิดขึ้นต่อไป ทั้งนี้ขอให้ทุกท่านได้ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดต่อไป ทางสำนักสื่อวาร์ตานียังคงยืนยันที่จะเป็นกระบอกเสียงของประชาชนต่อไป.

@@ด้านนายรอมฎอน ปันจอร์ บรรณาธิการศูนย์เฝ้าระวัง ได้กล่าวว่า เมื่อวานมีโอกาสได้ตาม Zahri Ishak ไปฟังการสอบปากคำเขาในฐานะ #พยาน ของ DSI กรมสอบสวนคดีพิเศษ ในคดีพิเศษที่ 306/2565 ที่สำนักงานใหม่ของ DSI ซอยหลังโรงแรมซีเอส ผมและเพื่อนสองสามคนได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมรับฟังด้วยในฐานะ #บุคคลที่ได้รับความไว้วางใจ จากพยาน หลังจากที่บ้านของเขาถูกเจ้าหน้าที่หลายสิบบุกค้นเมื่อช่วงเย็นวันก่อนหน้านั้นและยึดเอาคอมพิวเตอร์ไป 2 เครื่อง นับเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ได้ความรู้ใหม่หลายอย่างทีเดียวครับ ผมมีพันธะทางใจที่ต้องคอยเคี่ยวเข็ญ (และขู่เข็ญ) ให้เขาเขียนวิทยานิพนธ์ ป.โท ที่ทำกับ Institute for Peace Studies : สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลา งานวิจัยที่เกี่ยวกับ #นักโทษการเมืองปาตานี ชิ้นนี้เพิ่งสอบเปิดเล่มไปไม่นานและเหลือเวลาสำหรับการเขียนอีกไม่มาก ผมเองเคยตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ จึงต้องแน่ใจได้ว่าการเขียนงานในจังหวะสุดท้ายจะต้องไม่สะดุดหยุดลงด้วยสิ่งรบกวนอื่นใด โดยเฉพาะคดีความ แม้ว่าจะเห็นโอกาสว่าหัวข้อนี้กับสิ่งที่เขากำลังเผชิญอยู่น่าจะเป็นโอกาสในการเก็บข้อมูลจากสนามจริงก็ตาม

อย่างไรก็ดี การสอบปากคำเช่นนี้เป็นประสบการณ์ใหม่และมีข้อสังเกต/สมมติฐานน่าสนใจจำนวนหนึ่งที่ควรค่าแก่การบันทึกและแบ่งปันให้กับทุกท่าน ด้วยเห็นว่าแนวโน้มของสถานการณ์ความขัดแย้งกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ ความพยายามจะแจ้งข้อกล่าวหานักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหวหลังการชุมนุมใหญ่ใส่ชุดมลายูเมื่อกลางปีก่อนดำเนินมาตลอดระยะเวลาหลายเดือน ทว่ายังไม่สำเร็จ ในขณะที่การปิดล้อมตรวจค้นและปฏิบัติการสังหารโดยเจ้าหน้าที่รัฐก็ดำเนินการอย่างต่อเนื่องคู่ขนานไปกับการพูดคุยเจรจาสันติภาพที่กัวลาลัมเปอร์ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นลิดรอนบั่นทอน ในขณะที่ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการสันติภาพก็ถูกบอนไซเตะสกัด ข้อสังเกตข้างล่างนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้กำหนดนโยบายของฝ่ายต่าง ๆ มิตรคนทำงานในองค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อนในพรรคการเมืองต่าง ๆ และพี่ ๆ ในหน่วยงานความมั่นคงที่ประสงค์จริงจังที่จะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน หรือแม้แต่คณะทำงานของผู้อำนวยความสะดวกของรัฐบาลมาเลเซียและบรรดาเจ้าหน้าที่สถานทูตต่าง ๆ ทั้งนี้ ผมจงใจจะไม่ลงลึกในรายละเอียดของคดี เนื่องจากเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่และพยานที่ต้องดำเนินการไป แต่ตั้งใจจะชี้ให้เห็นนัยทางการเมืองและพลวัตของความขัดแย้งในภาพใหญ่ ในตอนท้ายจะชี้ให้เห็นว่าจากมุมมองของพรรคก้าวไกลแล้ว เราเห็นและเสนออะไร?

....ผมเห็นอะไรบ้างจากการนั่งฟังกว่า 5 ชั่วโมงเมื่อวานนี้? ต้องบอกว่ามีความตึงเครียดอยู่ตลอดระยะเวลาการสอบปากคำ แม้จะมีการสนทนาตลกโปกฮากันบ้างระหว่างพยานและเพื่อนกับทีมของ DSI แต่ก็ถือเป็นการกลบเกลื่อนความซีเรียสจริงจังของคดีที่มีเลขรหัสว่า คพ.306/2565 การแย่งกันพูดแย่งกันถามเสียงดังลั่นห้องของทีม DSI นั้นมักสร้างความสับสนให้ผู้ตอบอยู่เป็นระยะ แต่บ่งชี้ว่าพวกเขาค่อนข้างจะเครียดเอาการทีเดียว พวกเขาเน้นย้ำอยู่หลายครั้งว่ากระบวนการที่ทำอยู่นั้นตรงไปตรงมาและชอบด้วยกฎหมาย (บางจังหวะถึงขั้นต้องพลิก พ.ร.บ.DSI อ่านออกเสียงให้ฟังอีกด้วย) ในขณะที่ทาง #พยาน เองก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ระมัดระวังคำพูดที่จะพาดพิงถึงบุคคลอื่น แต่ก็แจกแจงข้อมูลให้เจ้าหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา

เรื่องสำคัญที่สุดเห็นจะได้แก่โครงเรื่องใหญ่ของนิติสงคราม (lawfare) ครั้งนี้ ผมนั่งฟังคำถามและคำตอบที่ค่อย ๆ เผยออกแต่ละข้อออกมา ทำให้เห็นว่าภาพใหญ่ของโครงเรื่องทั้งหมดอย่างลาง ๆ ในความเห็นของผม (ซึ่งอาจจะผิดก็ได้นะครับ) จะเห็นการเชื่อมโยงระหว่างการระดมทุนของ #พ่อบ้านใจกล้า กิจกรรมอดิเรกในยามว่างของนักกิจกรรมจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือในเชิงมนุษยธรรมต่อบรรดาภรรยา ลูก ๆ และญาติของผู้เสียชีวิตจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ กับการชุมนุมใหญ่ใส่ชุดมลายูในวันรายอปีกลาย ผ่านเส้นทางเงินบริจาคและบทบาทของผู้คนจำนวนหนึ่ง จุดเชื่อมโยงนี้ยังสัมพันธ์กับเหตุการณ์รวมตัวของญาติ ๆ และผู้คน ตลอดจนการถ่ายทอดสดกิจกรรมในพิธีศพของผู้ที่เสียชีวิตจากการปะทะจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งสำหรับชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่าพวกเขาเป็น #ชะฮีด หรือ #มรณสักขี อันเป็นคอนเซ็ปหรือแนวคิดที่รบกวนระเบียบและมุมมองต่อการอ่านสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงสายเหยี่ยวเอามาก ๆ

สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย การชุมนุมใหญ่ครั้งนั้นเกิดขึ้นในช่วงเฉลิมฉลองวันฮารีรายอและอยู่ในช่วงที่รัฐบาลไทยและบีอาร์เอ็นมีข้อตกลงหยุดยิง/หยุดปฏิบัติการทางทหาร เป็นห้วงขณะที่พิสูจน์ #คุณภาพ ของกระบวนการสันติภาพไปด้วย แต่ถูกเข้าใจในแวดวงหน่วยงานความมั่นคงจำนวนหนึ่งว่ากำลังท้าทายอำนาจรัฐ ที่ผ่านมามีความพยายามจะปั้นสำนวนเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีแกนนำและมี #ปฏิบัติการข่าวสาร #ไอโอ เพื่อ #ด้อยค่าแพร่มลทิน และทำลายความน่าเชื่อถือตลอด (ล่าสุดการบุกยึดคอมฯ เมื่อวานก็ถูกเพจของหน่วย ปจว.ของทหารหมวกแดงแพร่มลทินเข้าใส่ – ดูในภาพประกอบ) มีความพยายามเชื่อมโยงระหว่างการชุมนุมอย่างสันติกับปฏิบัติการใช้ความรุนแรงของกองกำลังบีอาร์เอ็นอย่างจงใจหลายอย่าง เมื่อวานนี้ก็ได้ฟังข้อกังวลใจของเจ้าหน้าที่ที่ตีความไปไกลถึงการเปิดเผยกองกำลังรุ่นใหม่ ความตระหนกตกใจและประเมินสถานการณ์เกินจริงเช่นนี้สะท้อนสภาวะ #ไม่มั่นคง #ไม่มั่นใจ ในอำนาจรัฐของเจ้าหน้าที่รัฐ (บางส่วน) ได้อย่างชัดเจน

ในสายตาของเจ้าหน้าที่รัฐขี้ตกใจกลุ่มนี้ อำนาจรัฐนั้นปวกเปียกและเปราะบางอย่างมาก จึงต้องใช้กำลังเข้ากดปราบ (โดยที่ไม่ได้ประเมินว่าจะยิ่งทำให้การยอมรับอำนาจรัฐในสายตาของประชาชนนั้นยิ่งปวกเปียกและเปราะบางมากยิ่งขึ้นไปอีก)

คดี คพ.306/2565 จึงอาจจะไม่ใช่อะไรอื่น หากแต่เป็นความพยายาม #อีกครั้ง ที่จะเชื่อมร้อยเหตุการณ์ต่างกรรมต่างวาระเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน เป็น #พล็อตเรื่อง ที่สกัดยับยั้งการเคลื่อนไหวที่นัยทางการเมืองต่าง ๆ โดยกำราบปราบปรามบรรดาผู้นำเยาวชนและนักกิจกรรม ด้วยการใช้กฎหมายที่กดทับสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ด้วยคาดหวังว่าหากกดหัวคนกลุ่มนี้ได้ จะสามารถสกัดยับยั้งสถานการณ์ที่ตนไม่ถึงปรารถนาหรือทึกทักเอาว่าจะเลวร้ายลงไปเกินควบคุม เจ้าหน้าที่ซึ่งมีความคิดตระหนกตกใจกลุ่มนี้คงเชื่อว่าสิ่งที่พวกเขาทำนั้นจะสามารถ #แก้ไข ปัญหาที่พวกเขามีภาระหน้าที่รับผิดชอบได้

ปัญหาก็คือสิ่งที่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติทำตามหน้างานของพวกเขานั้น ขาดความสามารถในการเชื่อมโยงให้เห็นภาพใหญ่ของสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงในทางยุทธศาสตร์ การก้มหน้าก้มตามทำงานตามหน้างานและใช้อำนาจที่คิดว่าตนมีนั้นก็หวังอย่างลม ๆ แล้ง ๆ ว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายบางอย่างได้ แต่ก็ต้องภายใต้กรอบที่ถูกตีเส้นเอาไว้ โดยไม่ฉุกคิดนึกย้อนว่าสิ่งที่พวกเขากระทำนั้น จะกลายเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาและขัดขวางทิศทางของการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในภาพใหญ่ พวกเขาคงไม่ได้นึกว่าแทนที่จะแก้ปัญหาอย่างที่ตั้งใจ งานของพวกเขาเองต่างหากที่ทำให้เราไม่อาจคลี่คลายปมปัญหาความขัดแย้งไปได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาไปแล้ว คดีความเหล่านี้จึงเป็นเรื่องการเมืองโดยตัวมันเอง หากรับมือมันด้วยวิสัยทัศน์ที่คับแคบและแยกส่วนกันเช่นนี้ ก็น่าคิดว่าหากสถานการณ์จะบานปลายและยืดเยื้อต่อไปในอนาคต จะมีใครต้องรับผิดชอบบ้าง

กรอบคิดและปฏิบัติการเช่นนี้จึงไม่ต่างกับการตักแกงจืดด้วยมีดคมเข้าปาก ยิ่งพยายามก็จะยิ่งบาดปาก ไม่ต่างกับตักแกงกะทิด้วยมือเปล่า เพราะในระยะยาวคงเหลือทิ้งไว้กินมื้อต่อไปได้ยาก เพราะแกงจะบูดเอา ดึงดันกินเข้าไปอีกก็ท้องเสีย

@@ด้านนายรอมฎอน ปันจอร์ บรรณาธิการศูนย์เฝ้าระวัง ได้กล่าวว่า เมื่อวานมีโอกาสได้ตาม Zahri Ishak ไปฟังการสอบปากคำเขาในฐานะ #พยาน ของ DSI กรมสอบสวนคดีพิเศษ ในคดีพิเศษที่ 306/2565 ที่สำนักงานใหม่ของ DSI ซอยหลังโรงแรมซีเอส ผมและเพื่อนสองสามคนได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมรับฟังด้วยในฐานะ #บุคคลที่ได้รับความไว้วางใจ จากพยาน หลังจากที่บ้านของเขาถูกเจ้าหน้าที่หลายสิบบุกค้นเมื่อช่วงเย็นวันก่อนหน้านั้นและยึดเอาคอมพิวเตอร์ไป 2 เครื่อง นับเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ได้ความรู้ใหม่หลายอย่างทีเดียวครับ ผมมีพันธะทางใจที่ต้องคอยเคี่ยวเข็ญ (และขู่เข็ญ) ให้เขาเขียนวิทยานิพนธ์ ป.โท ที่ทำกับ Institute for Peace Studies : สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้แล้วเสร็จตามกรอบเวลา งานวิจัยที่เกี่ยวกับ #นักโทษการเมืองปาตานี ชิ้นนี้เพิ่งสอบเปิดเล่มไปไม่นานและเหลือเวลาสำหรับการเขียนอีกไม่มาก ผมเองเคยตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ จึงต้องแน่ใจได้ว่าการเขียนงานในจังหวะสุดท้ายจะต้องไม่สะดุดหยุดลงด้วยสิ่งรบกวนอื่นใด โดยเฉพาะคดีความ แม้ว่าจะเห็นโอกาสว่าหัวข้อนี้กับสิ่งที่เขากำลังเผชิญอยู่น่าจะเป็นโอกาสในการเก็บข้อมูลจากสนามจริงก็ตาม
อย่างไรก็ดี การสอบปากคำเช่นนี้เป็นประสบการณ์ใหม่และมีข้อสังเกต/สมมติฐานน่าสนใจจำนวนหนึ่งที่ควรค่าแก่การบันทึกและแบ่งปันให้กับทุกท่าน ด้วยเห็นว่าแนวโน้มของสถานการณ์ความขัดแย้งกำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ ความพยายามจะแจ้งข้อกล่าวหานักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหวหลังการชุมนุมใหญ่ใส่ชุดมลายูเมื่อกลางปีก่อนดำเนินมาตลอดระยะเวลาหลายเดือน ทว่ายังไม่สำเร็จ ในขณะที่การปิดล้อมตรวจค้นและปฏิบัติการสังหารโดยเจ้าหน้าที่รัฐก็ดำเนินการอย่างต่อเนื่องคู่ขนานไปกับการพูดคุยเจรจาสันติภาพที่กัวลาลัมเปอร์ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นลิดรอนบั่นทอน ในขณะที่ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการสันติภาพก็ถูกบอนไซเตะสกัด ข้อสังเกตข้างล่างนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้กำหนดนโยบายของฝ่ายต่าง ๆ มิตรคนทำงานในองค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อนในพรรคการเมืองต่าง ๆ และพี่ ๆ ในหน่วยงานความมั่นคงที่ประสงค์จริงจังที่จะแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน หรือแม้แต่คณะทำงานของผู้อำนวยความสะดวกของรัฐบาลมาเลเซียและบรรดาเจ้าหน้าที่สถานทูตต่าง ๆ ทั้งนี้ ผมจงใจจะไม่ลงลึกในรายละเอียดของคดี เนื่องจากเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่และพยานที่ต้องดำเนินการไป แต่ตั้งใจจะชี้ให้เห็นนัยทางการเมืองและพลวัตของความขัดแย้งในภาพใหญ่ ในตอนท้ายจะชี้ให้เห็นว่าจากมุมมองของพรรคก้าวไกลแล้ว เราเห็นและเสนออะไร?

....ผมเห็นอะไรบ้างจากการนั่งฟังกว่า 5 ชั่วโมงเมื่อวานนี้? ต้องบอกว่ามีความตึงเครียดอยู่ตลอดระยะเวลาการสอบปากคำ แม้จะมีการสนทนาตลกโปกฮากันบ้างระหว่างพยานและเพื่อนกับทีมของ DSI แต่ก็ถือเป็นการกลบเกลื่อนความซีเรียสจริงจังของคดีที่มีเลขรหัสว่า คพ.306/2565 การแย่งกันพูดแย่งกันถามเสียงดังลั่นห้องของทีม DSI นั้นมักสร้างความสับสนให้ผู้ตอบอยู่เป็นระยะ แต่บ่งชี้ว่าพวกเขาค่อนข้างจะเครียดเอาการทีเดียว พวกเขาเน้นย้ำอยู่หลายครั้งว่ากระบวนการที่ทำอยู่นั้นตรงไปตรงมาและชอบด้วยกฎหมาย (บางจังหวะถึงขั้นต้องพลิก พ.ร.บ.DSI อ่านออกเสียงให้ฟังอีกด้วย) ในขณะที่ทาง #พยาน เองก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ระมัดระวังคำพูดที่จะพาดพิงถึงบุคคลอื่น แต่ก็แจกแจงข้อมูลให้เจ้าหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา
เรื่องสำคัญที่สุดเห็นจะได้แก่โครงเรื่องใหญ่ของนิติสงคราม (lawfare) ครั้งนี้ ผมนั่งฟังคำถามและคำตอบที่ค่อย ๆ เผยออกแต่ละข้อออกมา ทำให้เห็นว่าภาพใหญ่ของโครงเรื่องทั้งหมดอย่างลาง ๆ ในความเห็นของผม (ซึ่งอาจจะผิดก็ได้นะครับ) จะเห็นการเชื่อมโยงระหว่างการระดมทุนของ #พ่อบ้านใจกล้า กิจกรรมอดิเรกในยามว่างของนักกิจกรรมจำนวนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือในเชิงมนุษยธรรมต่อบรรดาภรรยา ลูก ๆ และญาติของผู้เสียชีวิตจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ กับการชุมนุมใหญ่ใส่ชุดมลายูในวันรายอปีกลาย ผ่านเส้นทางเงินบริจาคและบทบาทของผู้คนจำนวนหนึ่ง จุดเชื่อมโยงนี้ยังสัมพันธ์กับเหตุการณ์รวมตัวของญาติ ๆ และผู้คน ตลอดจนการถ่ายทอดสดกิจกรรมในพิธีศพของผู้ที่เสียชีวิตจากการปะทะจากเจ้าหน้าที่ ซึ่งสำหรับชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่าพวกเขาเป็น #ชะฮีด หรือ #มรณสักขี อันเป็นคอนเซ็ปหรือแนวคิดที่รบกวนระเบียบและมุมมองต่อการอ่านสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ความมั่นคงสายเหยี่ยวเอามาก ๆ 

สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคย การชุมนุมใหญ่ครั้งนั้นเกิดขึ้นในช่วงเฉลิมฉลองวันฮารีรายอและอยู่ในช่วงที่รัฐบาลไทยและบีอาร์เอ็นมีข้อตกลงหยุดยิง/หยุดปฏิบัติการทางทหาร เป็นห้วงขณะที่พิสูจน์ #คุณภาพ ของกระบวนการสันติภาพไปด้วย แต่ถูกเข้าใจในแวดวงหน่วยงานความมั่นคงจำนวนหนึ่งว่ากำลังท้าทายอำนาจรัฐ ที่ผ่านมามีความพยายามจะปั้นสำนวนเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีแกนนำและมี #ปฏิบัติการข่าวสาร #ไอโอ เพื่อ #ด้อยค่าแพร่มลทิน และทำลายความน่าเชื่อถือตลอด (ล่าสุดการบุกยึดคอมฯ เมื่อวานก็ถูกเพจของหน่วย ปจว.ของทหารหมวกแดงแพร่มลทินเข้าใส่ – ดูในภาพประกอบ) มีความพยายามเชื่อมโยงระหว่างการชุมนุมอย่างสันติกับปฏิบัติการใช้ความรุนแรงของกองกำลังบีอาร์เอ็นอย่างจงใจหลายอย่าง เมื่อวานนี้ก็ได้ฟังข้อกังวลใจของเจ้าหน้าที่ที่ตีความไปไกลถึงการเปิดเผยกองกำลังรุ่นใหม่ ความตระหนกตกใจและประเมินสถานการณ์เกินจริงเช่นนี้สะท้อนสภาวะ #ไม่มั่นคง #ไม่มั่นใจ ในอำนาจรัฐของเจ้าหน้าที่รัฐ (บางส่วน) ได้อย่างชัดเจน

ในสายตาของเจ้าหน้าที่รัฐขี้ตกใจกลุ่มนี้ อำนาจรัฐนั้นปวกเปียกและเปราะบางอย่างมาก จึงต้องใช้กำลังเข้ากดปราบ (โดยที่ไม่ได้ประเมินว่าจะยิ่งทำให้การยอมรับอำนาจรัฐในสายตาของประชาชนนั้นยิ่งปวกเปียกและเปราะบางมากยิ่งขึ้นไปอีก)

คดี คพ.306/2565 จึงอาจจะไม่ใช่อะไรอื่น หากแต่เป็นความพยายาม #อีกครั้ง ที่จะเชื่อมร้อยเหตุการณ์ต่างกรรมต่างวาระเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน เป็น #พล็อตเรื่อง ที่สกัดยับยั้งการเคลื่อนไหวที่นัยทางการเมืองต่าง ๆ โดยกำราบปราบปรามบรรดาผู้นำเยาวชนและนักกิจกรรม ด้วยการใช้กฎหมายที่กดทับสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ด้วยคาดหวังว่าหากกดหัวคนกลุ่มนี้ได้ จะสามารถสกัดยับยั้งสถานการณ์ที่ตนไม่ถึงปรารถนาหรือทึกทักเอาว่าจะเลวร้ายลงไปเกินควบคุม เจ้าหน้าที่ซึ่งมีความคิดตระหนกตกใจกลุ่มนี้คงเชื่อว่าสิ่งที่พวกเขาทำนั้นจะสามารถ #แก้ไข ปัญหาที่พวกเขามีภาระหน้าที่รับผิดชอบได้

ปัญหาก็คือสิ่งที่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติทำตามหน้างานของพวกเขานั้น ขาดความสามารถในการเชื่อมโยงให้เห็นภาพใหญ่ของสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงในทางยุทธศาสตร์ การก้มหน้าก้มตามทำงานตามหน้างานและใช้อำนาจที่คิดว่าตนมีนั้นก็หวังอย่างลม ๆ แล้ง ๆ ว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายบางอย่างได้ แต่ก็ต้องภายใต้กรอบที่ถูกตีเส้นเอาไว้ โดยไม่ฉุกคิดนึกย้อนว่าสิ่งที่พวกเขากระทำนั้น จะกลายเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาและขัดขวางทิศทางของการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในภาพใหญ่ พวกเขาคงไม่ได้นึกว่าแทนที่จะแก้ปัญหาอย่างที่ตั้งใจ งานของพวกเขาเองต่างหากที่ทำให้เราไม่อาจคลี่คลายปมปัญหาความขัดแย้งไปได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาไปแล้ว คดีความเหล่านี้จึงเป็นเรื่องการเมืองโดยตัวมันเอง หากรับมือมันด้วยวิสัยทัศน์ที่คับแคบและแยกส่วนกันเช่นนี้ ก็น่าคิดว่าหากสถานการณ์จะบานปลายและยืดเยื้อต่อไปในอนาคต จะมีใครต้องรับผิดชอบบ้าง

กรอบคิดและปฏิบัติการเช่นนี้จึงไม่ต่างกับการตักแกงจืดด้วยมีดคมเข้าปาก ยิ่งพยายามก็จะยิ่งบาดปาก ไม่ต่างกับตักแกงกะทิด้วยมือเปล่า เพราะในระยะยาวคงเหลือทิ้งไว้กินมื้อต่อไปได้ยาก เพราะแกงจะบูดเอา ดึงดันกินเข้าไปอีกก็ท้องเสีย

พูดอย่างนี้ จะว่ากล่าวพี่ ๆ ที่ทำงานอยู่หน้างานเสียทั้งหมดคงไม่ได้ เพราะนี่เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างและข้อจำกัดในเชิงสถาบันของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของรัฐไทยเอง เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าพวกเขาคงต้องพยายามปั้นให้พล็อตเรื่องนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา แม้จะมีความพยายามของฝ่ายตำรวจอยู่หลายเดือนเพื่อปั้นสำนวนและแจ้งความดำเนินคดี แต่จนแล้วจนรอด ผู้บังคับบัญชาตัดสินใจไม่สั่งฟ้อง กระทั่งต้องถูกย้ายไป เป็นไปได้ว่าหวยร้อน ๆ นี้เลยต้องตกมาที่ DSI และหน่วยงานอื่น ๆ ที่จะต้องเดินไปในทิศทางนี้