"มาดามหยก"ย้ำนโยบายพรรครวมแผ่นดิน 15 ข้อทำจริง-ยกระดับ LGBTQ+ทัดเทียมคนทั่วไป

"มาดามหยก"ย้ำนโยบายพรรครวมแผ่นดิน 15 ข้อทำจริง-ยกระดับ LGBTQ+ทัดเทียมคนทั่วไป





ad1

"มาดามหยก" นำทัพพรรครวมแผ่นดินเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความเห็นที่ จ.เชียงใหม่ ย้ำนโยบายพรรค 15 ข้อ LGBTQ+ ความหลากหลายทางเพศไม่ใช่แค่สมรสเท่าเทียม แต่จะได้สิทธิเสรีภาพและการฉีดฮอร์โมนตั้งแต่เด็กจนถึงวัย เล็งตั้งชมรม LGBTQ เพื่อแก้ปัญหาถูกทอดทิ้งในวัยชรา

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2566 น.ส.กชพร เวโรจน์ “มาดามหยก” ประธานที่ปรึกษาพรรครวมแผ่นดิน=ประธานที่ปรึกษาโครงการ CHANGE TOGETHER เปลี่ยนไปด้วยกัน    ในฐานะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์มูลนิธิเอ็มพลัส เดินทางมาเปิดกิจกรรมเวทีพูดคุยในหัวข้อ  “Change Together เปลี่ยนไปด้วยกันอย่างเท่าเทียม” จ.เชียงใหม่ ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่  โดยมีพล.อ.ชัชชัย ภัทรนาวิก หัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน ผู้บริหารพรรคและว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคฯร่วมในกิจกรรมนี้ด้วย

น.ส.กชพร เวโรจน์ "มาดามหยก"  ประธานที่ปรึกษาพรรครวมแผ่นดิน =ประธานที่ปรึกษาโครงการ CHANGE TOGETHER เปลี่ยนไปด้วยกัน กล่าวว่า การจัดเวทีในวันนี้เพื่อยืนยันและแสดงถึงนโยบายสิทธิเท่าเทียมกันของ LGBIQI+ อยากให้ทุกคนให้เกียรติซึ่งกันและกัน ลดความเหลื่อมล้ำ พรรคการเมืองอื่นก็มีนโยบายสมรสเท่าเทียม แต่สิ่งที่คนเหล่านี้ต้องการมากกว่าคือ สุขภาพพจิต สุขภาพกาย ที่เราต้องส่งเสริม ต้องช่วยเหลือกลุ่มนี้ตั้งแต่เกิดถึงเสียชีวิต สิทธิการแสดงออก การยอมรับทางสังคม การให้เกียรติซึ่งกันและกัน เป็นความต้องการที่แท้จริงของคนกลุ่มนี้ เพราะคนกลุ่มนี้ไม่ได้แตกต่างจากทุกคน บางคนไม่ต้องการสมรสก็มี
 
ทั้งนี้ กลุ่ม LGBTQI+ เป็นกลุ่มที่ต้องการให้สังคมยอมรับ โดยไม่เลือกปฏิบัติเพศทางเลือก ซึ่งพรรคมีนโยบายดูแลตั้งแต่เกิด จนถึงสูงอายุโดยเฉพาะสิทธิการรักษาพยาบาล อาทิ การฉีดฮอร์โมน เพื่อรักษาสภาพร่างกาย 3 สัปดาห์/ครั้ง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายครั้งละ 100 กว่าบาทเท่านั้น โดยรัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าว เช่นเดียวกับการรักษา 30 บาททุกโรคเพื่อให้กลุ่มดังกล่าว เข้าถึงสิทธิรักษาฟรี 
 
ปัจจุบันประชากร เป็นเกย์ กว่า 10 % เกณฑ์ทหาร มีเพศทางเลือก 10 % แต่ภาพรวมกลุ่มLGBTQI+ เฉลี่ย 35 %  ของประชากรทั้งหมด จึงไม่แปลกที่มีการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพทางเพศเท่าเทียม ดังนั้นพรรค รผด. จึงมีนโยบายดูแลกลุ่มดังกล่าว โดยเฉพาะสภาพจิตใจ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งทางใจให้ทุกเพศทุกวัยอย่างเป็นระบบ

สำหรับการแบ่งเขตการเลือกตั้งของจังหวัดเชียงใหม่ จากเดิม 11 เขต เหลือ 10 เขตนั้น ได้มีการปรึกษาหารือพูดคุยกันแล้ว เขตที่มีการทับซ้อนกันและผู้สมัครที่ไม่ได้ลงก็ยังคงช่วยเหลือกันอยู่ แต่อาจจะเป็นปาร์ตี้ลิส ซึ่งต้องมีการเลือกแบบละเอียดอ่อนนิดหนึ่ง เพราะทั้งสองท่านที่ลงสมัครก็ลงพื้นที่อย่างเข้มข้นมาโดยตลอด ไม่ใช่แค่ช่วงนี้แต่ทั้งสองท่านก็ยังเป็นคนในพื้นที่ สนิทสนมกับชาวบ้านในพื้นที่อย่างแท้จริง ก็อาจจะไม่ต่างกับพรรคอื่นเท่าไหร่ ส่วนปัญหาด้านความขัดแย้งภายในพรรคจากการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ของ กกต.นั้น ทางพรรคเราเน้นความปรองดองกันอยู่แล้ว คิดว่าไม่มีปัญหาความขัดแย้ง ทุกคนที่มาอยู่จุดนี้ไม่ใช่มาเพื่อตนเองแต่มาสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองเชียงใหม่, ภาคเหนือ และประเทศไทยอย่างแท้จริง 
 
ซึ่งในวันที่ 18 มีนาคม 2566 นี้คงจะทราบอย่างชัดเจนเรื่องของการแบ่งเขตพื้นที่การเลือกตั้ง  พรรครวมแผ่นดิน เน้นทันสมัย ไม่ละเลยสิ่งที่คนรุ่นเก่าสร้างมา ไม่ลืมรากเหง้า “ทันสมัย ก้าวหน้า แต่ไม่ก้าวร้าว” อยากผลักดันให้เชียงใหม่เป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจท่องเที่ยวพิเศษ ทางพรรคไม่เน้นการแจกเงิน แต่เน้นการสร้างโอกาส สร้างเศรษฐกิจให้มีการเติบโต คนไม่ต้องไปทำงานต่างจังหวัด เมื่อการท่องเที่ยวเติบโต ก็จะมีโรงแรม ร้านค้า ร้านอาหารที่พัฒนามากขึ้น และจะมีการจ้างงานมากขึ้น การแจกเงินไม่ใช่หนทางแก้ไข เพราะหากแจกหมดแล้วต้องกู้มาแจกอีก แล้วจะกู้มาตลอดไม่ได้ ต้องเน้นการสร้างงาน สร้างรายได้ระยะยาว ไม่ใช่เน้นการแจกเงินอย่างเดียว
 
โดยเวทีสัมมนาร่วมพูดคุยประเด็นหัวข้อ “LGBTQ+ เสรีภาพทางเพศสู่ความหลากหลายอย่างเท่าเทียม” มี ดร.วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์ ที่ปรึกษาวิชาการโครงการ Change Together เปลี่ยนไปด้วยกัน ซึ่งร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นการส่งเสริมสุขภาพและเสรีภาพอย่างไร?ให้เป็นระบบเท่าเทียม, นายจิตศักดิ์ หลิมภากรกุล (เชฟจีโน่) รองนางสาวเชียงใหม่ในดวงใจ ร่วมพูดคุยในหัวข้อทำไม?ต้องสมรสเท่าเทียม พร้อมแขกรับเชิญพิเศษ เต้ นันทศัย, ตฤณ เศรษฐโชค , ไอยศูรย์ ไมดาน พร้อมด้วยสมาชิกทีม Change Together ร่วมพูดคุยในประเด็นการยอมรับความแตกต่างและอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม โดยได้รับความสนใจจากกลุ่มประชาชนชาวเชียงใหม่ และกลุ่ม LGBTQ ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จำนวนมาก
 
ทางด้าน ดร.วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์ ที่ปรึกษาวิชการโครงการ Change Together กล่าวว่า กลุ่ม LGBIQI+ นี้ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ พรรคนี้ดูแลตั้งแต่เกิด จนถึงสูงอายุ พรรคอื่นส่งเสริมแต่สมรสเท่าเทียม พรรคเราผลักดันอยู่แล้ว แต่ผมเป็นนักสุขภาพจิตเจอปัญหาของกลุ่ม LGBIQI+ มาเยอะ เด็กพอจำความได้ตั้งแต่เกิดควรมีสิทธิในการเลือกสภาพเพศของตัวเอง ซึ่งพ่อแม่ก็มีความขัดแย้งในใจ มีผลกระทบกับคนกลุ่มนี้จริงๆ รวมไปถึงหญิงข้ามเพศ ชายข้ามเพศ จำเป็นต้องรับประทานและฉีดฮอร์โมนทุก 3 อาทิตย์ ราคา 100 กว่าบาท แต่สิทธิตรงนี้เขาควรได้รับจากรัฐ แต่รัฐไม่สามารถจ่ายให้ได้ ในความเป็นมนุษย์ที่เขาเลือกแล้วว่าจะเป็นอย่างไร แต่จำเป็นต้องใช้ยาในการทำนุบำรุงสภาพร่างกายให้เขาเป็นในสิ่งที่เขาอยากเป็น  เขาควรได้จากภาครัฐ และในกลุ่มนี้ที่เป็นผู้สูงอายุ ที่มีความเหงา เศร้า กระทั่งคิดอยากฆ่าตัวตาย เพราะคิดว่าอยู่แล้วสังคมก็แปลกแยกไป 
 

“ทางพรรคมีแนวคิดจะจัดตั้งชมรม LGBIQI+ ของผู้สูงอายุทุกอำเภอ เพราะคนเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญดูแลเฉพาะ จะได้ไม่เหงา ไม่คิดฆ่าตัวตาย เป้าหมายของพรรคคือดูแลทั้งชีวิตไม่ใช่แค่การสมรสเท่าเทียมเดินขนานทุกเพศ ทุกวัยในชุมชน ไม่แตกแยก อาจมีชมรมเกิดขึ้น รวมตัว 10 -20 คน เบื้องต้น มีนักสุขภาพจิตดูแลสุขภาพจิต สุขภาพร่างกาย สภาพสังคม ผลักดันสวัสดิการที่เขาพึงมี ปัจจุบันมีคนที่เป็นเกย์ อย่างเดียวประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชาชนทั้งหมด และการเกณฑ์ทหารก็จะพบกลุ่มคนต่างเพศ ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อรวมกับผู้สูงอายุ LGBIQI+ อีก ทั้งหมดภาพรวมที่เป็นคนต่างเพศมีไม่ต่ำกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป นอกจากนี้อาจมีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในทุกอำเภอ เป็นหลักสูตรสำหรับใครที่จะแต่งงาน มีครอบครัว ก่อนจะมีลูกต้องเข้าโรงเรียนนี้ก่อน หากลูกเกิดออกมาแล้วเป็นกลุ่มนี้จะได้มีวิธีดูแลอย่างไร บางอย่างอาจเหมือนคนทั่วไป บางอย่างอาจแตกต่างออกไป ก็จะได้ทำให้เกิดภาพสังคมที่เท่าเทียมกันไม่กีดกันเด็ก”ดร.วุฒิพงศ์ กล่าว
 
ขณะที่นายพรชัย จิตนวเสถียร สมาชิกทีม Change Together กล่าวว่า การยอมรับคนกลุ่ม LGBIQI+ ตั้งแต่จำความได้ว่าตนเองเลือกเป็นอะไร จะลดปัญหาของสังคมที่เด็กถูกบูลลี่ การถูกเพื่อนล้อจน้อยใจอาจจะฆ่าตัวตาย ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะหมดไป จะเกิดผลดีกับประเทศอย่างมากจากกกลุ่ม LGBIQI+ ซึ่งคนเหล่านี้ก็จะมีประสิทธิภาพในการพัฒนาตนเองและพัฒนาประเทศด้วย การดูแลตั้งแต่เด็กที่จำความได้ว่าตนเองเป็นอะไร จนถึงวัยชรา การตั้งกลุ่มดูแลในแต่ละอำเภอเป็นการดูแลอย่างแท้จริงให้เกิดสิทธิประโยชน์ของคนกลุ่มนี้อย่างเท่าเทียม