เครือข่ายยางใต้เสนอรัฐบาลยกเลิกโครงการประกันราคาแนะจั้ดตั้งบริษัทร่วมยางรูปแบบกลุ่ม G7-โอเปค

เครือข่ายยางใต้เสนอรัฐบาลยกเลิกโครงการประกันราคาแนะจั้ดตั้งบริษัทร่วมยางรูปแบบกลุ่ม G7-โอเปค





ad1

เครือข่ายยางพารา ระบุ รัฐบาลใหม่จะมีการเสนอจัดตั้งบริษัทร่วมยาง ผู้ปลูกยางพารารายใหญ่ของโลก ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม โยง สปป.ลาว เข้าด้วย ประสบความสำเร็จในอดีต ราคาไหลขึ้นกว่า 100 บาท / กก. รูปแบบไม่ต่าง กลุ่ม G 7  และกลุ่มโอเปค

เมื่อวันที่ 15 ธค. 65 นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพารา-ปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย (คยปท.) เปิดเผยว่า เครือข่ายยางพารา มีภาคีเครือข่ายชาวสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศ สมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย  กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้แปรรูปยางพารารมควัน ได้ร่วมประชุมกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ที่สำนักงานที่ผ่านมา เกี่ยวกับโครงการประกันราคายาง ที่ดำเนินการมาไม่ตอบโจทก์ เพราะเป็นการทำให้ราคายางไม่ขยับ ทั้งนี้เพราะรัฐบาลมีการประกันราคา และชดเชยให้ เช่น รัฐบาลประกันราคาอยู่ที่ 60 บาท / กก. แต่ราคายางพาราเคลื่อนไหวอยู่ที่ 40 กว่าบาท / กก. เป็นว่ารัฐบาลจะต้องชดเชยให่ 20 บาท / กก. แต่เวลาผู้ซื้อยางพาราจะออกขายได้ได้ราคาสูงกว่า 40 บาท / กก. และถึง 60 บาท / กก. แล้วเงินส่วนต่างได้อยู่กับผู้ค้ายางพารา แต่ในส่วนเงินชดเชยถึง 20 บาท / กก. รัฐบาลต้องชดเชยใช้ที่เป็นเงินภาษีของประชาชนทั้งประเทศ  จึงต้องขอให้ยกเลิกในสมัยรัฐบาลต่อไป แล้วให้หันมาใช้เป็นโครงการเยียวยาแทน 5,000 บาท / คน ยางพาราภาวะยางพาราวิกฤติหนัก โดยชาวสวนยางพาราจำนวน 1.7 ล้านคน ทั้งคนกรีดยางและเจ้าของสวนยางพารา  

ส่วนเงินประกันรายได้ชาวสวนยางที่รัฐบาลได้ใช้อยู่ จึงอยากให้รัฐบาลได้ชดใช้ไปก่อนเป็น 2 เฟส จำนวนเงิน 16,500 ล้านบาท เฟสละ 8,500 ล้านบาท 

“ซึ่งทาง กนย.รับว่าจะดำเนินการนำเสนอต่อคณะกรรมการการยางธรรมชาติในวันนี้ (15 ธค.65) เพื่อพิจารณา” นายทศพล กล่าว 

นายทศพล ยังกล่าวอีก โดยเฉพาะนโยบายยกเลิกโครงการประกันราคายางพารานั้นได้นำเสนอเป็นนโยบายไปยัง 16 พรรคการเมืองแล้ว โดยบางพรรคการเมืองเพื่อไทยตอบรับกับเครือข่ายยางพาราว่าเมื่อได้เป็นรัฐบาลจะรับดำเนินการทันที  และยังมีการนำเสนอต่อพรรคการเมืองที่รับนนโยบายเมื่อได้เป็นรัฐบาลแล้ว คือให้มีการจัดตั้งบริษัทร่วมยางพาราดังเช่นที่ผ่านมา คือบริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCo) ที่ประกอบด้วยประเทศผู้ปลูกยางรายใหญ่ของโลกในขณะนั้นคือ ประเทศไทย มาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเคยมีพรรคการเมืองได้ดำเนินการมาก่อนแล้วในสมัยรัฐบาลก่อน ๆ จนประสบความสำเร็จ โดยราคายางพาราสมัยนั้นได้ไหลขึ้นกว่า 100 บาท / กก. และถึง 180 บาท / กก. โดยมี ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธุ์ชาวสวนยางพาราแห่งประเทศไทย เป็นผู้ร่วมงานอยู่เช่นกัน 

“บริษัทร่วมยางพารายใหญ่ของโลกขณะนั้นคือประเทศไทย มาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย แต่ปัจจุบันปลูกยางพาราในหลายประเทศในกลุ่มประเทศอาเชี่ยน นอกจากไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย มีประเทศเวียดนาม และประเทศ สปป.ลาวบางส่วนด้วย โดยรูปแบบไม่ต่างกับกลุ่ม G7 และกลุ่มน้ำมันรายใหญ่ของโลกคือกลุ่มโอเปค” นายทศพล กล่าว.