ชาวบ้านวังว้า ท่าวังผา ชื่นใจ หรั่ง-ถั่วแระ ร่วมกิจกรรมมอบ “ฝายชะลอน้ำแบบแกนดินซีเมนต์”

ชาวบ้านวังว้า ท่าวังผา ชื่นใจ หรั่ง-ถั่วแระ ร่วมกิจกรรมมอบ  “ฝายชะลอน้ำแบบแกนดินซีเมนต์”





ad1

น่าน- ชาวบ้านวังว้า ท่าวังผา ชื่นใจ "หรั่ง-ถั่วแระ"ศิลปินชื่อดัง ร่วมกิจกรรมมอบ  “ฝายชะลอน้ำแบบแกนดินซีเมนต์”กักเก็บน้ำเพื่อบริโภคและการเกษตร

นายสุทัศน์ จินตเวชศาสตร์ นายอำเภอท่าวังผา  เป็นประธานในพิธีมอบฝายชะลอน้ำแบบแกนดินซีเมนต์ณ อ่างเก็บน้ำห้วยอีแด็ก บ้านวังว้า หมู่ที่ 5 ต.ท่าวังผา อ.ท่าวังผา  โดยมีพลเอกนินนาท เบี้ยวไข่มุข  พลเอกศักดิ์ดา แสงสนิท    คณะผู้บริหารบริษัทไทย นิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) พร้อมด้วยศิลปินนักร้อง นาย ชัชชัย สุขขาวดี   หรือ หรั่ง ร็อคเคสตร้า และศิลปินนักแสดง นายศรสุทธา กลั่นมาลี หรือ ถั่วแระ เชิญยิ้ม ร่วมในกิจกรรมครั้งนี้

นายบดินทร์ จิณะไชย ผู้ใหญ่บ้านวังว้า หมูที่ 5 เปิดเผยว่า  บ้านวังว้า หมู่ที่ 5 ตำบลท่าวังผา จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าวังผา ประมาณ 300 เมตร ประชากร 1,055 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร มีแหล่งน้ำที่สำคัญ ของหมู่บ้านคืออ่างเก็บน้ำห้วยอีแด็ก ซึ่งชาวบ้านได้ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำดังกล่าวมาอุปโภค บริโภค และใช้เพื่อการเกษตรมาอย่างช้านาน แต่ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศได้เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากสภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง สร้างความเดือนร้อนเสียหาย  แก่ประชาชน เป็นประจำทุกปี

และข่วงเดือนกรกฎาคม 2565  ได้รับการประสานจากบริษัท ไทยนิวส์ เน็ตเวิร์ค (ทีเอ็นเอ็น) จำกัด ว่าจะร่วมกับส่วนราชการอำเภอท่าวังผา  ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอท่าวังผา  กำนันทั้ง 10 ตำบล ผู้ใหญ่บ้าน 91 หมู่บ้าน ชมรมรักดิน น้ำ ป่า น่าน   ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) อุทยานแห่งชาตินันทบุรี หน่วยจัดการต้นน้ำในพื้นที่อำเภอท่าวังผา เทศบาลตำบลท่าวังผา กองร้อยอาสาสมัครรักษาดินแดนอำเภอท่าวังผา หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 สำนักงานพัฒนาภาค3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (นพค.31) และประชาชนบ้านวังว้า ร่วนกันก่อสร้างแกนดินซีเมนต์ลำห้วยอีแด็ก เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำแล้งให้กับบ้านวังว้า

ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่าย ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน จึงแล้วเสร็จ จึงได้จัดพิธีมอบฝายชะลอน้ำแบบแกนดินซีเมนต์ขึ้น เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณในความร่วมมือร่วมใจ และ เป็นขวัญกำลังใจให้ชาวบ้านวังว้า นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทุกภาคส่วนในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น บ้าน วัด ส่วนราชการ ได้ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันเรียนรู้ในการก่อสร้างฝายชะลอน้ำแบบแกนดินซีเมนต์ ซึ่งถือว่าเป็น นวัตกรรมในการบริหารจัดการน้ำที่ใช้งบประมาณไม่มาก แต่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน และเชื่อว่าฝายชะลอน้ำลูกนี้ จะเป็นฝายนำร่อง เป็นแบบอย่างให้ส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆและผู้สนใจ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และขยายผลในโอกาสต่อไป