ผลกระทบโควิด-19 : สุขภาพจิต คนไทย


“ผู้ที่ตกงาน รายได้น้อย หรือธุรกิจประสบปัญหาจากโควิด-19 ในปี 2564 ถึง 1 ใน 3 พบว่ามีความเครียดสูง และเกือบ 1 ใน 4 เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย”
โครงการสุขภาพคนไทย ปี 2565 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชื่อมร้อยเครือข่ายขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้นำเสนอผลกระทบโควิด-19 ต่อสุขภาพคนไทย โดยมี หัวข้อสำคัญ 12 เรื่อง ในหมวดที่ 4 เป็นการสะท้อนผลกระทบของโควิด-19 ต่อสุขภาพจิต ซึ่งประชากรทุกกลุ่ม ทุกวัย ได้รับผลกระทบทางสุขภาพจิตไม่มากก็น้อย กลุ่มที่ควรจับตามองเป็นพิเศษ คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน ที่ขาดสังคมเพื่อน ขาดการเล่น และกลุ่มวัยทำงานที่ตกงาน หรือสูญเสียรายได้หรือธุรกิจ ที่พบว่า 1 ใน 3 มีความเครียดสูง
จากรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2565 ได้ถึงเรื่อง “ปัญหาสุขภาพจิต” จะเป็นคลื่นผลกระทบสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังในระลอกที่ 4 จากสถานการณ์โควิด-19 ตามแนวคิดรอยเท้าทางสุขภาพของการระบาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นผลระยะยาวในวงกว้างต่อประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มเปาะบางและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตอยู่เดิม
โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตต่อประชากรทุกกลุ่ม ทุกวัย ด้วยเงื่อนไขและปัจจัยเสี่ยงที่ต่างกัน เด็กและเยาวชนในวัยเรียน เป็นหนึ่งในกลุ่มเปาะบางที่มีประสบการณ์ชีวิต ความพร้อมและความเข็มแข็งทางจิตใจน้อยกว่าประชากร วัยอื่นในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและผลกระทบ เช่น จากการเรียนออนไลน์ การขาดสังคมเพื่อน ขาดการเล่น หรือแม้แต่ขาดผู้ดูแลจากการติดเชื้อหรือเสียชีวิตด้วยโควิด-19
การประเมินสุขภาพจิตคนไทยตลอดปี 2564 พบสัดส่วนผู้มีภาวะเครียดสูงเสี่ยงซึมเศร้า และเสี่ยงฆ่าตัวตายในกลุ่มประชาชนทั่วไป ถึงร้อยละ 14.5 16.8 และ 9.5 ตามลำดับ โดยปัญหาดังกล่าวนี้ มีสัดส่วนสูงมากในกลุ่มเด็กและเยาวชน วันเรียนอายุไม่ถึง 20 ปี และ 20-29 ปี โดยความตั้งใจของเด็กและเยาวชน ส่วนใหญ่เป็นในเรื่องที่เชื่อมโยงกับครอบครัว การเรียน และอนาคตของตน ซึ่งควรกำหนดเป็นจุดเน้นสำคัญในการดูแลสุขภาพจิตของประชากรกลุ่มนี้ และช่วยป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพอื่นที่อาจเกิดขึ้นตามมา โดยเฉพาะการสูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มอัลกอฮอล์
ผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากการตกงานสูญเสียรายได้หรือธุรกิจเป็นอีกกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ ต้องการ การดูแลและเยี่ยวยาทางจิตใจ เนื่องจากพบว่ามีความเสี่ยงต่อภาวะเครียดสูง เสี่ยงซึมเศร้า และเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงกว่าคนทั่วไป 2-3 เท่า จากฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข จำนวนผู้พยายาม ฆ่าตัวตายที่เข้ารับบริการสุขภาพจิต ในปี 2563 และ 2564 มีจำนวนสูงกว่า 2.4 หมื่นคนต่อปี
รอยเท้าทางสุขภาพของการระบาดใหญ่
ระลอกที่ 1 จำนวนการติดเชื้อและการเสี่ยงชีวิตจากโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น
ระลอกที่ 2 ทรัพยากรทางสุขภาพที่จำกัดน้อยลง สำหรับผู้ป่วยเร่งด่วนกลุ่มอื่น
ระลอกที่ 3 ผลกระทบต่อบริการสุขภาพ สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคหรืออาการเรื้อรัง
ระลอกที่ 4 การเจ็บป่วยทางจิตใจ (ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากสถานการณ์) การเจ็บป่วยทางจิตเวช
ผลกระทบทางเศรษฐกิจและภาวะหมดไฟ (ที่มา :Tseng, 2020 อ้างใน Jenkins,E k., et al,2021)