สถานีอนามัยฯยกป้ายร้องขอโอนไปสังกัด อบจ.ศรีสะเกษ (มีคลิป)

สถานีอนามัยฯยกป้ายร้องขอโอนไปสังกัด อบจ.ศรีสะเกษ (มีคลิป)





ad1

ศรีสะเกษ- สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดศรีสะเกษ ยกป้ายร้องขอโอนไปสังกัด อบจ.ศรีสะเกษ

เมื่อวันที่ 21  มีนาคม  2565  ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ  นายสำรวย  เกษกุล  รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  พร้อมด้วยนายกมล  ชัยกันทะ ท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษและนายบุญชวัฒน์  ปัญญาแดง  ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร่วมกันรับหนังสือร้องเรียนจากนายเกียรติคุณ ทวี  ผู้อำนวยการสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖0 พรรษา นวมินทราชินีภูมิชรอล ประธานชมรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ประเทศไทย) จังหวัดศรีสะเกษ และคณะผู้อำนวยการโรงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดศรีสะเกษ โดยขอโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ

นายเกียรติคุณ ทวี  ผู้อำนวยการสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีภูมิชรอล ประธานชมรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ประเทศไทย) จังหวัดศรีสะเกษ  กล่าวว่า  ด้วยคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติการเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วันที่ 15 มีนาคม 2565 ที่ได้มีประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง โอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด วันที่  5 ตุลาคม 2564 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวัน 19 ตุลาคม 2564 นั้น

 

และองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ได้แถลงต่อสภา อบจ. เพื่อรับทราบการขอรับการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตจังหวัดศรีสะเกษ มาบริหารจัดการและได้ขอรับการประเมินความพร้อมจากคณะอนุกรรมการบริหารภารกิจถ่ายโอนด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปรากฎผลการประเมินความพร้อมผ่านเกณฑ์คะแนนระดับดีเลิศ  สามารถรับถ่ายโอนภารกิจมาบริหารจัดกาได้ทั้งจังหวัด โดยปีงบประมาณ 2565 ขอรับจำนวน  117 แห่ง และบุคลากรประจำสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ สมัครใจถ่ายโอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมจำนวน 786 คน เป็นข้าราชการ 414 คน เป็นลูกจ้างจำนวน 372 คน องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ได้เตรียมความพร้อมรับถ่ายโอน ด้วยการปฏิบัติตามคู่มือแนวทางการถ่ายโอนฯ

 โดยการบันทึกคำของบประมาณปี 2565 ด้านกำลังคนตามกรอบโครงสร้างอัตรากำลังตามขนาดสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยบันทึกคำของบประมาณเงินอุดหนุนทั่วไป และงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ตามกระบวนการ ชั้นตอน และวิธีงบประมาณในระบบสารสนเทศ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น SOLA และ BBL ให้แก่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นามินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่จะถ่ายโอนมาสังกัดองค์การบริหารจังหวัดศรีสะเกษ ในปีงบประมาณ 2566 จำนวน 117 แห่ง แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่สำนักงบประมาณกำหนดก่อนวันที่ 14 มกราคม 2565 องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดตั้งคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ) เพื่อขับเคลื่อนภารกิจถ่ายโอนฯ ตลอดจนได้จัดทำแผนพัฒนาสุขภาพ และปรับปรุงกรอบอัตรากำลัง และวางแผนพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ โดยการบรรจุในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ของ อบจ. เพื่อเตรียมความพร้อมรับการถ่ายโอนฯ

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แจ้งให้จังหวัดศรีสะเกษ ทราบว่าคณะรัฐมนตรี เมื่อคราวประชุมวันที่ 15 มีนาคม 2565 มีมติเห็นซอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ และให้ อบจ. หน่วยรับงบประมาณปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ตามที่ถูกปรับลด โดยทราบว่าสำนักงบประมาณได้ปรับลดจำนวนสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่องค์การบริหารจังหวัดศรีสะเกษ ขอรับถ่ายโอน จาก 117 แห่ง คงเหลือ 13 แห่ง และปรับลดบุคใจ จาก 786 คน คงเหลือ 66 คน ชมรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดศรีสะเกษ จึงขอแจ้งให้ทราบว่าสำนักงบประมาณไม่มีสิทธิปรับลดกรณีดังกล่าว ซึ่งสถานีและโรงพยาบาลจำนวน  117 แห่ง  และบุคลากรสมัครใจ จำนวน 786 คน ที่ อบจ.ศรีสะเกษแสดงเจตนาโดยชอบด้วยขั้นตอนกระบวนการขอรับถ่ายโอนและคณะอนุกรรมการบริหารภารกิจการถ่ายโอนภายใต้ กกถ.ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ.2542 ก็ได้พิจารณาอนุบัติชอบด้วยกฎหมายและอำนาจหน้าที่แล้ว

ประธานชมรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ประเทศไทย) จังหวัดศรีสะเกษ  กล่าวต่อไปว่า  ชมรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(ประเทศไทย)จังหวัดตรีสะเกษ จึงขอให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ได้โปรดพิจารณาทบทวนมติการเห็นขอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คราวการประชุมวันที่ 15 มีนาคม 2565  พิจารณาสั่งการให้ลำนักงบประมาณ ถือปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท่องถิ่น เรื่องหลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามียเฉสิมพระเกียร์ติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด วันดี 5 ตุลาคม 2564 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564   พิจารณาให้สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 117 แห่ง บุคลากรสมัครใจถ่ายโอน จำนวน 786 คน ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ขอรับถ่ายโอนให้ทันภายในปีงบประมาน 2566

โดยไม่ให้มีส่วนราชการใดประวิงเวR พิจารณาเห็นขอบกรอบวงเงินอุดหนุนทั่วไป แก่สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตามที่กำหนดการจัดสรรงบประมาณไว้ในคู่มือหลักเกณฑ์และขั้นตอนการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖0 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด วันที่ 5 ตุลาคม 2564 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 ตามขนาดหน่วยบริการ โดยขนาดเล็ก ให้สนับสนุนงบประมาณ 1 ล้านบาท/ปี ขนาดกลางให้สนับสนุนงบประมาณ 1.5 ล้านบาท/ปี ขนาดใหญ่ให้สนับสนุนงบประมาณ 6 ล้านบาท/ปี จึงขอความกรุณาท่านนายกรัฐมนตรี ได้โปรดพิจารณาสั่งการเร่งรัดนำเข้าคณะรัฐมนตรี ให้ปรับปรุงทบทวนรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 ให้ทันวันอังคารที่ 29 มีนาคม 2565 เพื่อให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สามารถจัดระบบบริการประชาชนที่ได้คุณภาพมาตรฐาน เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560  ต่อไป

เสนาะ วรรักษ์ /รายงาน