ฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯโอกาสการค้า-การลงทุน-การท่องเที่ยวภาคใต้

ฟื้นสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯโอกาสการค้า-การลงทุน-การท่องเที่ยวภาคใต้





ad1

ปัตตานี-ศอ.บต.จัดสัมมนา โอกาส ศักยภาพและความท้าทาย ของจังหวัดชายแดนภาคใต้และของประเทศไทยภายหลังรัฐบาลเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ ไทย-ซาอุดีอาระเบีย โดยสมบูรณ์

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565  ที่ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ศอ.บต. จัดการสัมมนา โอกาส ศักยภาพ และความท้าทายของจังหวัดชายแดนภาคใต้และของประเทศไทยภายหลังรัฐบาลเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ ไทย-ซาอุดีอาระเบีย โดยสมบูรณ์ ภายในงานมีการกล่าวปาฐกถาจาก นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผ่าน video conference ในหัวข้อ "ความสำเร็จของการฟื้นฟูความสัมพันธ์ ไทย-ซาอุดีอาระเบีย โอกาสและศักยภาพของประเทศไทยและจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

ภายใต้ศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ ที่สมบูรณ์”และยังมีการบรรยายในหัวข้อ "โอกาส ศักยภาพและความท้าทายของจังหวัดชายแดนภาคใต้และของประเทศไทยภายหลังรัฐบาลเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบียโดยสมบูรณ์” จากนายอิซอม ซอเละห์ เอช อัลจีเตลี อุปทูตราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทย และนายสธน เกษมสันต์ ณ อยุธยา อุปทูตไทยประจำกรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยมี นางสาวมนัญญา  ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, พลเรือตรี สมเกียรติ  ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต., พลตรี เฉลิมพล  จินารัตน์ ผู้อำนวยการส่วนพัฒนายุทธศาสตร์ กอ.รมน.ภาค 4 สน., รองศาสตราจารย์ ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดี มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ภายใต้มาตรการป้องกันโควิด–19 อย่างเคร่งครัด

 ทั้งนี้ พลเรือตรี สมเกียรติ  ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. ได้นำเสนอผลการระดมความคิดเห็นในขั้นต้น (Focus Group) เมื่อวันที่ 14 - 15 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา ทั้ง 9 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการท่องเที่ยว ด้านพลังงาน ด้านแรงงาน ด้านอาหาร ด้านสุขภาพ ด้านความมั่นคง ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ด้านการค้าและการลงทุน ตลอดจนด้านการกีฬา รวมถึงข้อเสนอจากผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขา อาทิ ด้านท่องเที่ยวมีการเสนอในเรื่องการสนับสนุนการ ยกระดับสถานพยาบาล ขนาดใหญ่ในพื้นที่ จชต. ให้สามารถรองรับด้านแรงงานมุ่งสนับสนุนการสร้างทักษะองค์ความรู้ที่จำเป็นนำเที่ยว บริการด้านสุขภาพ โรงแรม

 ด้านอาหาร มีข้อเสนอให้สนับสนุนให้เกิดการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในพื้นที่ จชต. ให้เป็นจุดเชื่อมโยงการผลิต แปรรูป และส่งออกไปยังประเทศซาอุดีอาระเบีย ด้านสุขภาพ ให้มีการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ความต้องการ ด้านสุขภาพของชาวซาอุดีอาระเบีย และศักยภาพในการรองรับบริการด้านสุขภาพของพื้นที่ จชต. 

 นอกจากนี้ มีการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Focus Group) เพื่อรวบรวบข้อมูลต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาภายใต้มิติความสัมพันธ์ไทย-ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งข้อเสนอจากผู้เชี่ยวชาญจะเป็นประโยชน์ กับคนในพื้นที่ จชต. เป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ระดับประเทศ ทั้งนี้ การส่งเสริมความร่วมมือของสองประเทศนั้น มีมิติทั้งหมด 9 ด้าน คือ การท่องเที่ยว พลังงาน แรงงาน อาหาร การค้าและการลงทุน สุขภาพ ความมั่นคง การศึกษาและศาสนา และการกีฬา