ค่ารถไฟฟ้าไทยแสนแพง! สูงกว่า “สิงคโปร์” 50% คนกรุงจ่ายไหวแค่เที่ยวละไม่เกิน 17 บาท 

ค่ารถไฟฟ้าไทยแสนแพง! สูงกว่า “สิงคโปร์” 50%

ค่ารถไฟฟ้าไทยแสนแพง! สูงกว่า “สิงคโปร์” 50% คนกรุงจ่ายไหวแค่เที่ยวละไม่เกิน 17 บาท 





ad1

- ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อ ที่หลายฝ่ายแสดงท่าทีคัดค้าน การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารต้องจ่ายค่าตั๋ว 65 บาทตลอดสาย อีก 30 ปี เนื่องจากมองว่าเป็นราคาที่แพงเกินไป จากการสำรวจของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เมื่อปี 2563 พบว่า ภาพรวมชาวกรุงที่ใช้บริการถขนส่งสาธารณะ ร้อยละ 24 และในจำนวนนี้มีเพียง 2.86 เท่านั้น ที่ใช้รถไฟฟ้า สาเหตุหลักคือเรื่องราคา
.
▪️ 4 ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เห็นตรงกัน ไม่ต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียว!
.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อปี 2562 TDRI ได้ศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่ารถไฟฟ้าในบ้านเรา แพงกว่าความสามารถในการจ่ายของคนไทย ครัวเรือนที่มีรายได้
14,000-21,000 บาทเดือน คือผู้ใช้ขนส่งสาธารณะหลัก มีความสามารถในการจ่ายค่าโดยสารอยู่
ที่เที่ยวละ 14-17 บาท ขณะที่ค่าโดยสารจริงเฉลี่ยอยู่ที่ 28.30 บาท อัตรานี้สูงกว่าของสิงคโปร์ถึง 50% ที่มีอัตราเฉลี่ยที่ 13.3 บาท และฮ่องกง 16.78 บาท
.
ทั้งนี้ ปัญหาค่ารถไฟฟ้าแพงเกินกว่าคนไทยจะจ่ายไหว เป็นสิ่งที่ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. อย่างน้อย 4 คน ประกอบด้วย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, รสนา โตสิตระกูล, สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์, วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ระบุตรงกันว่าไม่เห็นด้วยกับการต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียว เพราะจะทำให้คนกรุงเทพ ต้องแบกภาระค่าโดยสารราคาแพง พร้อมเสนอรัฐเปิดเงื่อนไขการต่อสัมปทาน เนื่องจากมองว่าสามารถกดราคาให้ต่ำลง เหลือเที่ยวละ 25-30 บาท ตลอดสายได้
.
▪️ คณะกรรมการไม่กี่คน ตัดสินชีวิตของคน ไปอีก 1 เจนเนอเรชั่น!
.
[ #ชัชชาติสิทธิพันธุ์ ] ชี้ว่าไม่เห็นด้วยกับการเร่งรีบต่อสัญญาสัมปทานไปอีก 30 ปี เพราะสัญญาเดิมจะหมดปี 2572 ครม. ยังมีเวลาอีก 7 ปี ที่สำคัญ การต่อสัญญาดังกล่าว ไม่ผ่านกระบวนการ พ.ร.บ.ร่วมทุน ซึ่งเน้นเรื่องความโปร่งใส ดังนั้น ต้องเปิดเผยสัญญาจ้างเดินรถ ให้เห็นว่าเหมาะสมโปร่งใสหรือไม่ และมีจุดไหนที่รัฐเสียเปรียบ มีจุดไหนที่จะลดค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งอัตราค่าโดยสาร 25-30 บาทต่อเที่ยวนั้น มองว่าสามารถทำได้ ความพยายามในการต่อสัญญาสัมปทานให้บีทีเอส ถือเป็นซากของ ม.44 ที่ยังคงเหลืออยู่ เพราะมีคณะกรรมการเพียงไม่กี่คน ประชุมกันไม่กี่หนสามารถตัดสินชีวิตของคน ไปอีก 1 เจนเนอเรชั่น
.
▪️ อย่าเอาหนี้มาเป็นข้ออ้างในการต่อสัมปทาน!
.
[ #รสนาโตสิตระกูล ] เสนอว่า กทม. ควรยกรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้รัฐบาล โดย รฟม. เป็นคนดูแล จะได้เป็นระบบโครงข่ายเดียวกัน ทำให้การดูแลเรื่องค่าโดยสารและระบบตั๋วร่วมทำได้ง่ายขึ้น ถ้ามีการต่อสัญญาไปอีก 30ปี การใช้ตั๋วร่วมในราคาเดียวจะทำไม่ได้ การต่อสัมปทานในครั้งนี้ เพราะข้ออ้างเรื่องหนี้ของ กทม. 30,000 ล้านบาท ในการเดินรถและการเชื่อมต่ออาณัติสัญญาณที่ “บีทีเอส” ออกเงินไปให้ก่อน นอกจากนี้ส่วนที่ยังไม่ได้รับหนี้โอนมา คือหนี้ส่วนโครงสร้างพื้นฐานส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าของ รฟม. อีกประมาณ 70,000 ล้านบาท รวมสองส่วนประมาณ 1 แสนล้านบาท
ดังนั้น การต่อสัญญาทั้งสายจึงทำไม่ได้ เพราะ รฟม. ยังไม่โอนโครงสร้างพื้นฐานมาให้
.
▪️ กทม. ต้องเคลียร์หนี้ แถมยังมีค่าเช่า - ค่าโฆษณาปีละ 2 พันล้าน!
.
[ #สุชัชวีร์สุวรรณสวัสดิ์ ] ระบุว่า ตามหลักการคิดอัตราค่าโดยสาร หากยึดตามค่าจ้างขั้นต่ำ ร้อยละ 20 เมื่อค่าแรง 300 บาท ค่าเดินทางรวมต้องไม่เกิน 60 บาท ดังนั้น ค่ารถไฟฟ้าเที่ยวไม่ควรเกิน 20-25 บาท ในประเด็นหนี้ที่ติดค้างบีทีเอส 30,000 ล้าน กทม. ต้องเคลียร์ให้ได้ โดยใช้วิธีออกพันธบัตรอินฟาสตัคเจอร์ฟัน ให้ผลตอบแทน ร้อยละ 3 จะได้เงินก้อนมาจ่ายหนี้ ส่วนหนี้ที่เป็นงานโยธาต้องยึดหลักเหมือนรถไฟฟ้าเส้นอื่นๆ ที่รัฐบาลดูแล ส่วนการเดินรถที่มีค่าใช้จ่ายปีละ 7,000 ล้าน ค่าโดยสาร 20-25 บาท เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายการเดินรถ ได้นอกจากนี้ยังมีรายได้จากค่าเช่า ค่าโฆษณา ปีละ 2,000 ล้านอีกด้วย
.
▪️ ถ้าไม่กำหนดตั๋วร่วม - ค่าโดยสารร่วม จะแก้ไขไม่ได้เลย!
.
[ #วิโรจน์ลักขณาอดิศร ] กล่าวว่า สายสีเขียวสำคัญมากเพราะเป็นเส้นไข่แดง ผู้โดยสารสูงสุด ถ้าไม่กำหนดตั๋วร่วม ค่าโดยสารร่วม จะแก้ไขไม่ได้เลย โดยขอเรียกร้องให้มีการเปิดเผย คำสั่งของคณะรัฐประหาร เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2562  ที่ใช้มาตรา 44 ออกคำสั่ง 3/2562 ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อเจรจาเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่าเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ไปตกลงกันไว้คืออะไร ส่วนปัญหาหนี้ขอเสนอว่า หนี้ 60,000 ล้านที่รับมาจาก รฟม. ทาง กทม. ต้องเจรจาตัดหนี้ ผ่อนจ่าย หรือขอไม่รับ ส่วนหนี้กับบีทีเอส 37,000 ล้าน และหนี้กองทุนรวมบีทีเอสจีไอเอฟ อีกกว่า 20,000 ล้าน กทม. ต้องเข้าไปเจรจาหนี้เช่นกัน ไม่ใช่แค่ยอมรับสภาพหนี้