รองนายกฯสั่งทุกภาคส่วนสงขลาเตรียมเผแนเชิญเหตุรับมือน้ำท่วม

รองนายกฯสั่งทุกภาคส่วนสงขลาเตรียมเผแนเชิญเหตุรับมือน้ำท่วม





ad1

สงขลา -รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ ติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ในพื้นที่ จ.สงขลา พร้อมสั่งการ ทุกภาคส่วน เร่งบูรณาการ เตรียมแผนเผชิญเหตุ รับมือน้ำท่วม

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอ

งนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เป็นประธานการประชุมติดตาม  แนวทางการบริหารจัดการน้ำ และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาน้ำท่วมน้ำหลาก รวมถึงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยมี นายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ดร.ชนธัญ แสงพุ่ม ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่าผู้แทนภาคเอกชน หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับ ณ อาคารอเนกประสงค์บริเวณปากแม่น้ำเทพา       ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้กล่าวภายหลังจากที่ประชุมว่า การพัฒนาเป็นเรื่องที่รัฐบาล ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก เพราะเป้าหมายของการพัฒนาคือจะต้องทำให้ประชาชน ได้รับประโยชน์ และสามารถบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชนได้จึงจำเป็นต้องดำเนินการเร่งผลักดัน โดยขอให้กรมเจ้าท่าและ จังหวัดสงขลา เร่งก่อสร้างกำแพงป้องกัน การกัดเซาะชายฝั่งยาว2 กิโลเมตร บริเวณปากแม่น้ำเทพา ตามแผนงานโดยเร็ว และทำความเข้าใจกับประชาชนไปพร้อมกัน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากน้ำท่วมซ้ำซากและปัญหาขาดแคลนน้ำที่เกิดขึ้นในพื้นที่อำเภอเทพาต่อเนื่อง มายาวนาน พร้อมทั้งให้ ศอ.บต.ร่วมกับทางจังหวัด บูรณาการแผนงานเชิงพื้นที่ยกระดับการพัฒนาเป็น “ศูนย์กลางการกระจายสินค้าจังหวัดชายแดนภาคใต้” 

ทั้งนี้เสนอแผนงาน    เข้า ครม.ขอรับการสนับสนุนงบประมาณโดยเร็ว เพื่อยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่และคุณภาพชีวิตชุมชนไปพร้อมกัน และมอบหมายให้ สทนช. เร่งขับเคลื่อนบูรณาการแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง โดยเฉพาะแผนเผชิญเหตุเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ และการเก็บสำรองน้ำไว้รองรับในฤดูแล้งด้านเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า สทนช. ได้พิจารณาแผนงานโครงการด้านน้ำของหน่วยงานต่างๆ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้ง จังหวัดสงขลา โดยเร่งผลักดันให้มีการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำในลำน้ำสาขาต่างๆ และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายในลำน้ำสำคัญ เช่น คลองนาทวี คลองเทพา คลองรัตภูมิ คลองอู่ตะเภา เป็นต้น รวมถึงปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยในช่วงปี 2561 – 2564 หน่วยงานต่างๆ ได้มีการพัฒนาแหล่งน้ำทั้งสิ้น 962 โครงการ 

ส่งผลให้มีปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้นเกือบ 10 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 11,763 ไร่ พื้นที่ได้รับการป้องกัน 36,605 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 95,051 ครัวเรือน          เช่น สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำ เขื่อนป้องกันตลิ่งริมคลองอู่ตะเภา และขุดลอกร่องน้ำกลางทะเลสาบสงขลาตอนล่าง เป็นต้น ขณะที่แผนงานโครงการบูรณาการ ปี 2565 มีทั้งสิ้น 51 โครงการ พื้นที่รับประโยชน์ 10,445 ไร่ พื้นที่ได้รับการป้องกัน 13,056 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 6,717 ครัวเรือน เช่น แก้มลิงคลองลำทับ แก้มลิงคลองทราย ประตูระบายน้ำคลองลำพีระ และแผนในปี 2566 รวม 17 โครงการ ปริมาณน้ำกักเก็บเพิ่มขึ้น 33 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 38,807 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 43,944 ครัวเรือน     เช่น แก้มลิงฉลุง ระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองสงขลา พัฒนาน้ำบาดาลขนาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ และอ่างเก็บน้ำคลองแก้ว  เป็นต้น

อย่างไรก็ตามในการเดินทางมาครั้งนี้สืบเนื่องจากบริเวณปากแม่น้ำเทพาเป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำสายสำคัญในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี สาเหตุเกิดจากน้ำระบายไม่ทันในช่วงฝนตกหนัก ถือเป็นปัญหาที่สะสม มาอย่างยาวนาน และทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง นอกจากนี้บริเวณปากแม่น้ำเทพาแห่งนี้ ยังถูกกำหนดให้เป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าทางน้ำ เป็นประตูสู่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สำคัญ สามารถเชื่อมโยงทางน้ำสู่ภูมิภาคอื่น และต่างประเทศ ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่อีกด้วย