พิษโควิดลามไม่หยุด!คนโคราชตกอยู่ในสภาวะความเครียดพุ่งปรี๊ด

พิษโควิดลามไม่หยุด!คนโคราชตกอยู่ในสภาวะความเครียดพุ่งปรี๊ด





ad1

นครราชสีมา – ตัวเลขฟ้องคนโคราชมีความเครียดสูงจากสถานการณ์โควิด-19 ผอ.รพ.จิตเวชฯ แนะผู้ปกครองสังเกตุพฤติกรรมเด็กหลังเปิดเรียนท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ระบาด

เมื่อวันที่ 3 พ.ย.2564  โคราชฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์และศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 จัดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ โดยเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไปและผู้ที่มารับการฉีดวัคซีนได้ร่วมกิจกรรม “วัดใจ” ด้วยการตอบคำถามประเมินสุขภาพจิตผ่านทางการแสกน QR Code พร้อมทั้งการให้คำปรึกษาสุขภาพจิต ซึ่งงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติจะจัดเป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 1-7 พ.ย.64 นี้ โดยเริ่มตั้งแต่ เวลา 08.30 เป็นต้นไป

ทางด้านแพทย์หญิงสุวรรณี  เรืองเดช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดนครราชสีมา ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบทั้งการใช้ชีวิต ปัญหาด้านธุรกิจ ตกงาน ปัญหาด้านการเรียนและอื่นๆอีกมากมาย ทำให้ประชาชนตกอยู่ในสภาวะความเครียด โดยจากการประเมินตนเองผ่านโปรแกรม Mental Health Check in ในจังหวัดนครราชสีมา พบเป็นโรคซึมเศร้าร้อยละ 37.89% ภาวะเครียดสูงร้อยละ 32.27% เสี่ยงฆ่าตัวตายร้อยละ 22.88% และภาวะหมดไฟร้อยละ 7.52% โดยพบสูงในช่วงอายุ 20-29 ปี ในกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพจิตเดิม กลุ่มติดสุรา ยาเสพติด กลุ่มตกงานรายได้น้อยธุรกิจประสบปัญหา ใน อ.เมือง ,ปากช่อง และอำเภอสีคิ้ว ซึ่งจากตัวเลขพบว่าจังหวัดนครราชสีมามีผู้ที่ประสบปัญหาสุขภาพจิตสูงที่สุดในเขตนครชัยบุรินทร์ ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์

(ภาพ2)โดย ผอ.รพ.จิตเวชฯ ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ช่วงนี้หลายโรงเรียนในจังหวัดนครราชสีมา ได้ทำการเปิดการเรียนการสอนตามปกติแล้วท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังพบผู้ติดเชื้ออยู่ จนทำให้ผู้ปกครองหลายคนเกิดภาวะความเครียดจากสถานการณ์โควิด-19 จนอาจส่งผลกระทบไปยังบุตรหลาน จึงอยากแนะนำผู้ปกครองคอยสังเกตพฤติกรรมของเด็กๆ ว่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหรือปล่าวซึ่ง เช่น ซึมเศร้า เครียด หงุดหงิด ก้าวร้าว กินข้าวน้อยหรือบางคนกินมากขึ้นผิดปกติ อาการนอนไม่หลับหรือนอนมากผิดปกติ ถ้าพบอาการดังกล่าวควรปรึกษาครูที่โรงเรียนหรือถ้ายังไม่สบายใจควรโทรไปที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323.