"ตลาดนัดท้องถิ่น"เมืองลุง กระตุ้นศก.รากหญ้า เงินสะพัด 5 แสน/วัน


“ตลาดนัดท้องถิ่น” กระตุ้นเศรษฐกิจเงินสะพัดหลายร้อยล้านบาท จากฐานราก ตลาดนัด 400,000 – 500,000 บาท / วัน ขนาดเล็ก 40,000 50,000 บาท / วัน สินค้าของสดฉลุย สินแห้งไม่เวิร์ค โดน“ตลาดออนไลน์” ทุบเดี้ยง % กระอักสินค้าบางตัว 100 บาท ดั้มราคาเหลือ 30 บาท ทำยอดขายหลายตัววูบ 80 % แม่ค้าพ่อค้าหายวับ 30 %
แหล่งข่าวจากพ่อค้าตลาดนัดท้องถิ่น จ.พัทลุง เปิดเผยว่า กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าตลาดนัด โดยเฉพาะในส่วนประเภทของแห้ง เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องหนัง สิ่งของเครื่องใช้ ฯลฯ ซึ่งหลาย ๆ ตัว ยอดการค้าได้หดตัวไปจมาก จากเดิมบางครั้งบางตลาดนัดที่เคยทำยอดขายได้ 10,000 บาท / วัน / ตลาดนัด มาขณะนี้จะเหลือไม่ถึง 1,000 - 2,000 บาท
ทั้งนี้สาเหตุมาจากหลายปัจจัย เพราะตลาดออนไลน์เข้ามามามีส่วนแบ่งไป ตลาดนัดขยายตัวเติบโตผู้บริโภคอยู่ใกล้กับตลาดนัดในหมู่บ้าน และตลาดนัดจะมีทั้งภาคบ่ายและภาคเช้าเป้นตัวเลือกตามความสะดวก
“อย่างสินค้าหาดใหญ่จะมีการดั้มราคาในตัวสินค้าที่เป็นตัวเดียวกัน ซึ่งตลาดออนไลน์จะทำราคาที่ต่ำกว่ามาก จากชิ้นละ 100 บาท จะมีราคาเพียง 30 บาท เช่น กรอบหุ้มโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ เป็นต้น”
และจากตลาดนัดที่ถูกตลาดสินค้าออนไลน์ได้มีส่วนแบ่งการตลาด ได้ส่งผลกระทบต่อพ่อค้าแม่ค้าได้ให้ไปโดยประมาณ 30 % และยังส่งผลกระทบต่อล็อกจำหน่ายสินค้าตลาดนัดด้วย จากเมื่อก่อนอัตราค่าเซ้งบางตลาดนัดมาระยะหลังแทบจะยังไม่มีการเซ้ง หรือจะเข้าเช่าล๊อกต่อ
ตลาดนัดปัจจุบันทั้งตลาดขนาดย่อย ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ที่มีทั้งทั้งภาคเช้าและภาคบ่ายตั้งแต่ จ.พัทลุงตอล่าง อ.ตะโหมด ประมาณ 11 แห่ง อ.ป่าบอน ประมาณ 15 แห่ง และ อ.กงหรา มากกว่า 15 แห่ง ฯลฯ ส่วน จ.พัทลุงตอนบน ก็จะมีตลาดนัดกว่า 100 แห่งขึ้น โดยจะมีทั้งทั้ง 11 อำเภอ จ.พัทลุง
“สำหรับ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง จะศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้า จ.พัทลุง ตอนล่าง มีตลาดนัดขนาดใหญ่ ตลาดนัดวันอังคารแม่ขรีกตลาดนัดวันพฤหัต้นตอ ซึ่งจะมีพ่อค้าค้าแม่ค้าบวกลบประมาณ 200 รายบวกลบ พ่อค้าแม่ค้าจะมาจาก จ.สงขลา ฯลฯ ด้วย และจะเป็นตลาดที่มีผู้บริโภคใช้บริการมาก”แหล่งข่าว กล่าวและว่า
ตลาดนัดจะไปได้ดี หากสภาพภูมิอากาศปกติ เพราะ จ.พัทลุง จะเป็นชาวสวนยางเป็นขนาดใหญ่ สวนผลไม้ สวนปาล์มน้ำมันรองลงมา และภาคปศุสัตว์ ซึ่งจะเป็นส่วนใหญ่ จะมีกำลังซื้อที่ดี ห่ากการเกษตรดี โดยเฉพาะราคาขณะนี้กว่า 60 บาท / กก. ปาล์มน้ำมันเคลื่อนไหว 9 บาท 10 บาท / กก.
นายวัฒนา หลำสะ พ่อค้าแม่ค้ากลุ่มอาหารประเภทไก่ทอดข้าวเหนียว เจ้าของล๊อกตลาดนัดบ้านพูด ต.คลองเฉลิม อ.กงหรา เปิดเผยว่า พ่อค้าแม่ค้าตลาดนัดขนาดใหญ่จะมีนับร้อยราย และสินค้าที่ไปได้จะเป็นกลุ่มอาหาร โดยเฉพาะไก่ทอดจ้าวเหนียวของตนขายได้ถึงวันละ 20.000 บาท ส่วนที่ตลาดนัดพฤหัสต้นตอข้าวลูกชิ้น น้ำ วันละ 10.000 กว่าบาท
กลุ่มพ่อค้าเมื่อรวมหลายตลาด เพราะบางอำเภอจะมีครบทั้ง 7วัน หมุนเวียนไปแต่ละตลาดนัดครบสัปดาห์ และจะมีตลาดนัดทั่วทุกอำเภอทั้งจังหวัด ตลาดนัดขนาดจะทำยอดขายภาพรวม เช่น ตลาดนยีดบ้านพูดไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท และตลาดนัดวันฤหัสต้นตอ 400.000 – 500.000 บาท / วัน
ทางด้าน นายสมโชค สมันนุ้ย พ่อค้าตลาดนัดวันพฤหัสต้นตอและตลาดนัดวันเสาร์บ้านด่านโลด ต.แม่ขรี อ.พัทลุง อดีตนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ขรี เปิดเผยว่า ตลาดนัดภาพรวมมีทุกอำเภอทั้ง จ.พัทลุง โดยเฉลี่ยแต่ละอำเภอประมาณ 10 แห่ง รวม ๆ จาก 11 อำเภอ กว่าประมาณ 100 แห่ง ตลาดนัดจะมีทุกวันสลับหมุนเวียนกันทั่วทุกตลอดสัปดาห์
โดยเฉพาะตลาดนัดขนาดใหญ่อย่างตลาดนัดวันอังคารแม่ขรีต ต.แม่ขรี ศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าของ จ.พัทลุงตอนล่าง ประกอบกับตลาดขนาดใหญ่อย่างตลาดวันพฤหัสต้นตอ ตรงนี้จะมีเงินหมุนสะพัดไม่ต่ำกว่า 400,000 – 500,000 บาท / วัน 1.6 ล้าน และ 2 ล้านบาท / เดือน และตลาดนัดขนาดเล็กวันเสาร์บ้านด่านโลด 40,000 – 50,000 บาท / วัน เฉลี่ยที่ขั้นต่ำ ประมาณ 1.6 แสนบาทถึง 200,000 บาท / เดือน
“ตลาดนัดแต่ละแห่งจะต่างกันขนาดใหญ่เล็กกและตลาดย่อย จะพ่อค้าแม่ค้าประมาณ 50 รายและ 100 กว่ารายซึ่งเป็นฐานประจำ สำหรับตนที่ตลาดนัดวันเสาร์บ้านด่านโลด บางวันทำยอดขายถึง 2,000 บาท และถึง 3,000 บาท / วัน อีกทั้งค่าเช่าล๊อกก็ราคาก็ไม่สูง ตลาดนัดขนาดใหญ่จะมีรายได้ค่าเช่าล๊อกไม่ต่ำกว่า 10,000 – 15,000 บาท / นัด” นายสมโชค กล่าว และว่า
ภาพรวมทั้ง 11 อำเภอ แต่ละอำเภอจะมีตลาดนัดขนาดใหญ่ทุกวัน ภาพรวม 11 ตลาดนัด / วัน เฉลี่ยนหมุนสะพัดขั้นต่ำสุดแต่ละตลาดนัดเพียง 200,000 บาท / วันขั้นต่ำ ภาพรวมทั้ง 11 ตลาดนัดจะมีเงินหมุนสะพัดประมาณ 66 ล้านบาท หากรวม 8 เดือน / ปี จะมีเงินกว่า 500 ล้านบาท
นายสมโชค กล่าวอีกว่า ตลาดนัดจะมีทั้งของแห้งและของสดสัดส่วนเป็นของแห้งประมาณ 60 % ของสด ประมาณ 40 % แต่ในการซื้อขายผู้บริโภคจะไปใช้บริการของสดประมาณ 70 % และต่างมีความจำเป็นในการจับจ่ายใช้สอยสิ่งของในครัวเรือน
“ตลาดนัด คนหนุ่มสาวได้เข้าสู่เป็นพ่อค้าแม่ค้ามาก ยังเป็นที่นิยมไปจับจ่ายใช้สอยและยังได้เดินเที่ยวอย่างยั่งยืนที่สร้างงานสร้างรายได้ ตลาดนัดเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจของรากหญ้า ได้ดี”
นายสมโชค กล่าวอีกว่า ตลาดนัดจะมีช่วงโลว์ประมาณ 4 เดือน / ปี หน้าแล้งและหน้าฝน การค้าขายตลาดนัดมีตัวชี้วัดเพราะผู้บริโภคในพื้นที่จะเป็นเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ชาวสวนยาง ปศุสัตว์ รอง ๆ ลงมาสวนผลไม้ สวนปาล์มน้ำมัน
“หากไม่สามารถกรีดยางหากมีมรสุมมาก ก็ไม่สามารถกรีดยางได้ส่งผลต่อไม่มีรายได้ จึงได้เป็นอุปสรรคต่อกำลังซื้อ และในช่วงนี้ ยางราคาอยู่ในระดับที่ 60 บาท / กก.อัพ ปาล์มน้ำมัน 9-10 บาท / กก. ฯลฯ ตลาดนัดจะไปได้ดี”
ส่วนในประเด็นที่สินค้าตลาดออนไลน์เข้ามามีส่วนแบ่งการตลาดนัด และตลาดอื่น ๆ
นายสมโชค กล่าวว่า น่าจะเป็นสินค้าบางตัวบางกลุ่ม แต่ถึงอย่างไรผลิตสินค้าตลาดนัดผู้บริโภคจะได้เห็นสินค้าตัวได้เห็นคุณภาพของตัวสินค้าจริง ว่าจะเป็นสินค้าประเภทไหนว่าจะเป็นสินค้าประเภทค้างสต๊อกโล๊ะสต็อกหรือไม่ และตลาดนัดผู้บริโภคจะมีตัวเลือกสินค้าที่หลากหลาย
ทางด้าน นายกิตติพิชญ์ กลับคุณ ประธานหอการค้าจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า สถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มผู้ประกอบการการค้าได้มีการพัฒนาปรับตัวอย่างกว้างขวางในการรองรับตลาดการค้าออนไลน์ซึ่งได้ขยายตัวการเติบโตมาก เป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ประกอบการการค้า จ.พัทลุง สามารถได้เข้าถึงตลาดได้กว้างขึ้น ดังนั้นการพัฒนาทักษะดิจิทัลและการสร้างแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ จึงเป็นสิ่งสำคัญ